ตั้งสติก่อนจะด่าใคร? ความแตกต่างระหว่าง ดูหมิ่นกับหมิ่นประมาท

โดย…ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์(อาจารย์โทนี่)      www.drsuthichai.com

 

ดูหมิ่น

“มาตรา 393 ” หรือ “มาตรา 393 อาญา” คือหนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายอาญา

ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าหรือด้วยการโฆษณา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

[อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๒) พ.ศ. ๒๕๕๘] “

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1623/2551 การดูหมิ่นผู้อื่นอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 393 หมายถึง

การดูถูกเหยียดหยาม สบประมาท หรือทำให้อับอาย การวินิจฉัยว่าการกล่าววาจาอย่างไรเป็นการดูหมิ่น

ผู้อื่นหรือไม่จึงต้อง พิจารณาว่าถ้อยคำที่กล่าวเป็นการดูถูกเหยียดหยามสบประมาทผู้ที่ถูกล่าวถึง หรือเป็น

การทำให้ผู้ที่ถูกกล่าวถึงอับอายหรือไม่ หากเป็นเช่นนั้นก็ถือได้ว่าเป็นการดูหมิ่นแล้ว ไม่ต้องถึงกับเป็นการ

ใส่ความให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ซึ่งเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามมาตรา 326

 

หมิ่นประมาท

มาตรา 326* ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

*[มาตรา 326 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฏหมายอาญา (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2535 ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2535]

 

+++ตัวอย่างคดีที่ศาลฎีกาตัดสินเป็นบรรทัดฐานว่าเป็นการใส่ความ และเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท

เช่น

+คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 380/2503 จำเลยได้รับคำบอกเล่าจากญาติของโจทก์ว่า โจทก์รักใคร่กับชายใน

ทางชู้สาว นอนกอดจูบและได้เสียกัน ต่อมามีผู้ถามจำเลยถึงเรื่องนี้ จำเลยก็เล่าตามข้อความที่ได้รับบอกเล่ามา

เช่นนี้ถือว่าถ้อยคำที่จำเลยกล่าวเป็นข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ จำเลยมีความผิดตามมาตรา 326

+คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1068/2537 หัวข้อข่าวที่ว่า แอมบาสเดอร์เบี้ยวค่าเฟอร์นิเจอร์เจ้าของร้านฟ้อง

ศาลเรียกหนี้ 1 ล้าน คำว่าเบี้ยวมีความหมายพิเศษเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไปว่าหมายถึง ไม่ซื่อตรงหรือโกง หมายถึง

แอมบาสเดอร์ไม่จ่ายค่าเฟอร์นิเจอร์ เพราะไม่ซื่อตรงหรือโกง เจ้าของร้านฟ้องศาลเรียกหนี้ 1 ล้านบาท และ

หัวข้อข่าวดังกล่าวเป็นถ้อยคำของหนังสือพิมพ์เอง ประกอบกับข้อความในเนื้อข่าวเป็นการใส่ความโจทก์โดย

ประการที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท

+คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2371/2522 จำเลยพูดถึงผู้เสียหายซึ่งเป็นหญิงทำงานอยู่ที่สำนักงานที่ดิน

อำเภอว่ากระหรี่ที่ดิน คำว่า “กระหรี่” หมายความว่าหญิงนครโสเภณีหรือหญิงค้าประเวณี แม้จำเลยจะไม่ได้

กล่าวรายละเอียดว่าค้าประเวณีกับใครประพฤติสำส่อนในทางเพศกับใครบ้างก็เพียงพอที่จะถือว่าเป็นคำหมิ่น

ประมาทแล้ว

จากตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวจะเห็นได้ว่า การหมิ่นประมาทไม่ใช่การด่ากัน แต่เป็นการ

ใส่ความผู้อื่น ทั้งเรื่องจริงและไม่จริง

#image_title