คำถาม
ไปทำสัญญาขายฝาก ที่สำนักงานที่ดินจังหวัด
โดยไม่ได้รับเงินเต็มจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาขายฝาก
ต่อมาต้องการไปเพิกถอน โดยนำพยานบุคคลเข้าไปสืบจะทำได้หรือไม่
โดย…ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์ (ทนายโทนี่)
https://www.facebook.com/profile.php?id=61570145816740
คำตอบ คือ ไม่สามารถทำได้ อ้างอิง ตาม
คําพิพากษาฎีกาที่ ๗๕๑/๒๕๖๐
โจทก์จดทะเบียนขายฝากที่ดินพิพาทไว้กับจําเลยต่อเจ้าพนักงานที่ดิน จึงเป็นนิติกรรม การขายฝากที่ดินพิพาทที่ทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๔๕๖ ประกอบมาตรา ๔๙๑ กรณีจึงเป็นนิติกรรมที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสาร มาแสดง ซึ่งการรับฟังพยานหลักฐานตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๙๔ (ข) บัญญัติห้ามมิให้ศาลรับฟัง พยานบุคคลในกรณีขอสืบพยานบุคคลแทนเอกสารหรือสืบพยานบุคคลประกอบข้ออ้างว่ายังมี ข้อความเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นอยู่อีก เมื่อปรากฏว่า
หนังสือสัญญาขายฝากที่ดินระบุราคาขายฝากและสินไถ่ไว้จํานวน ๔,๒๐๐,๐๐๐ บาท และ ผู้ขายฝากได้รับเงินจากผู้รับซื้อฝากเป็นการเสร็จแล้ว โจทก์จะนําพยานบุคคลมาสืบเพื่อ เปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความที่ระบุไว้ในเอกสารว่า ราคาขายฝากที่แท้จริงมีเพียง ๑,๘๐๐,๐๐๐ บาท และได้รับเงินตามสัญญาขายฝากไม่เต็มจํานวนไม่ได้ เพราะเป็นการนําสืบเปลี่ยนแปลง แก้ไขข้อความในเอกสารต้องห้ามตามบทบัญญัติของมาตรา ๙๔ (ข) จึงต้องรับฟังตามหนังสือ สัญญาขายฝากที่ดินว่า โจทก์จําเลยตกลงขายฝากที่ดินพิพาทในราคาขายฝากและกําหนดสินไถ่ไว้ เป็นเงิน ๔,๒๐๐,๐๐๐ บาท แม้โจทก์จะนําเงินสินไถ่ไปวางต่อสํานักงานวางทรัพย์เพื่อเป็นค่าไถ่ ที่ดินพิพาทที่ขายฝากในราคา ๒,๐๓๐,๐๐๐ บาท ก็ไม่ครบตามจํานวนสินไถ่ที่กําหนดไว้ตาม สัญญา ถือเป็นการขอปฏิบัติการชําระหนี้ไม่ถูกต้อง จําเลยย่อมมีสิทธิบอกปัดไม่รับเงินสินไถ่ ดังกล่าวได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จําเลยไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทที่ขายฝากคืน ให้แก่โจทก์