การเตรียมตัว การเตรียมการพูด การเตรียมการสอนการบรรยาย
โดย….ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
จากประสบการณ์การเป็นวิทยากรหรือการเป็นพิธีกรของกระผม ผมมักให้ความสำคัญในการเตรียมการพูดค่อนข้างมาก เหมือนดังคนชกมวย ต้องมีการฝึกซ้อมชกทุกวัน พอถึงเวลาชกจริงจะได้มีแรงมีพลัง มีความคล่องตัวในการชกจริง หรือนักกีฬาที่ต้องการแข่งขันก็เช่นกัน ต้องมีการซ้อมอย่างเอาจริงเอาจัง ถึงจะประสบความสำเร็จ
คนที่อยากจะเป็นนักพูดก็เช่นเดียวกันกับนักกีฬา ต้องมีการฝึกฝนการพูดหรือการเตรียมตัว อยู่เป็นประจำ จึงจะประสบความสำเร็จในการขึ้นเวทีการพูด ทำให้การพูดคล่องขึ้น ไม่ติดขัด เวลาพูดสามารถจัดระเบียบความคิดได้อย่างเป็นลำดับขั้นตอน ไม่ประหม่าเวที (สำหรับท่านใดต้องการพูดคล่องขึ้น ไม่ติดขัด ท่านควรอ่านหนังสือออกเสียงหลายๆ เที่ยว)
ดังนั้นการเตรียมการพูดจึงมีความสำคัญเป็นอันมากจนกระทั่งมีผู้กล่าวไว้ว่า “ ผลสำเร็จในการพูดแต่ละครั้งมักขึ้นอยู่กับการเตรียมถึง 70-80 % อีก 20-30 % อยู่ที่การพูดบนเวที
จากบทความนี้ กระผมขอเขียนเรื่องของการเตรียมการพูด ซึ่งการเตรียมตัวที่ดีต้องมีองค์ประกอบดังนี้
1.ในการพูดแต่ละครั้ง เราต้องตั้งเป้าหมายของการพูดของเราเสียก่อน เช่น ในการพูดครั้งนั้น เราต้องการพูดเพื่ออะไร ซึ่งเป้าหมายของการพูดมีหลายประเภท เช่น พูดเพื่อให้กำลังใจ พูดเพื่อให้ความบันเทิง พูดเพื่อให้ข่าวสารข้อมูล และพูดเพื่อให้เกิดการกระทำขึ้น เมื่อระพำไราทราบวัตถุประสงค์แล้ว เราจึงมาเตรียมการพูด ทั้งเรื่องของเนื้อหา ลีลา ท่าทาง น้ำเสียง อารมณ์ในการพูด ฯลฯ
2.เตรียมเนื้อหา การพูดแต่ละครั้งเราจะต้องเตรียมเนื้อหา ว่าเราจะพูดประเด็นไหน ขึ้นต้นอย่างไร เนื้อหาอย่างไร สรุปจบอย่างไร สำหรับคนที่ฝึกพูดใหม่ๆ กระผมแนะนำให้เขียนเนื้อหาทั้งหมดลงในกระดาษ (ขึ้นต้น ต้อง ตื่นเต้น ตอนกลาง อนกลางื่นเต้น ารพูดคล่องขึ้น ไม่ติดขัด ท่านควรอ่านหนังสือออกเสียงหลายๆ เที่ยว่อท่านประสบความสำเร็จ เช่น ชื่อเสียง เงินทอง ตำแหน ต้อง กลมกลืน สรุปจบ ต้อง ประทับใจ) ถ้าเวลาในการพูดเขาให้เวลาน้อย เราก็ต้องนำเนื้อหาทั้งหมดนั้นมาย่อ แต่ถ้าเขาให้เวลามาก เราก็นำเรื่องที่เราเตรียมมาขยายความ
3.ฝึกซ้อมพูดคนเดียวหรืออาจมีคนฟังในการฝึกซ้อมพูดของเรา แต่ทางที่ดีควรให้ผู้ฟัง ฟังแล้วเสนอแนะ ข้อดี ข้อเสีย แก่เรา ว่าเราควรปรับปรุงการพูดอย่างไร สำหรับการฝึกพูด เราควรจับเวลาด้วย ผู้ฝึกใหม่ๆ ควรฝึกหัดพูดสัก 2-5 นาที ก่อน เมื่อฝึกพูดจนคล่องและเกิดความมั่นใจแล้ว จึงค่อยฝึกเพิ่มเวลาในการพูดขึ้น ยิ่งท่านฝึกพูดซ้อมพูดมากครั้งเท่าไร ก็จะทำให้การพูดของท่านดีขึ้นเท่านั้น
แต่เมื่อท่านฝึกแล้วเกิดความท้อใจ ขอให้คิดถึงผลประโยชน์ต่างๆ ที่ท่านจะได้รับเมื่อท่านประสบความสำเร็จ เช่น ชื่อเสียง เงินทอง ตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ ความเป็นผู้นำในท้องถิ่น ท้องที่ หรือ เมือง ของท่าน
ศาสตราจารย์ วิลเลี่ยม เจมส์ นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดได้กล่าวว่า เราไม่จำเป็นต้องไปกังวลในการฝึกของเราเลย ขอให้เราฝึกไปเรียนไป อย่างสม่ำเสมอ ไม่หยุด แล้วในวันหนึ่งเราจะพบว่า เราไม่เป็นรองใครเลยในวงการที่เราฝึกไปเรียนไปนั้น บุคคลที่สำคัญในประวัติศาสตร์ ไม่มีอะไรแตกต่างจากคนธรรมดาเลย แต่บุคคลสำคัญเหล่านั้น เป็นคนเอาจริงเอาจัง ไม่เคยย่อท้อเท่านั้นเอง
ถ้าท่านเตรียมตัวดี แล้วฝึกซ้อมพูดคนเดียวสัก 3 ครั้ง ท่านจะพูดได้ดี แต่ถ้าท่านเตรียมตัวดี แล้วฝึกซ้อมการพูดคนเดียวสัก 6 ครั้ง ท่านจะเกิดความมั่นใจในการพูดมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ถ้าท่านซ้อมพูดคนเดียวมากเท่าไร ท่านก็จะพูดได้ดีเท่านั้น
การพูดที่ยาวเกินไป ส่วนใหญ่เกิดจากการคิดหรือการเตรียมตัวที่ไม่นานพอ