มรรยาททนายความ (ว่าด้วยเรื่อง มรรยาทต่อตัวความ) https://www.facebook.com/profile.php?id=61570145816740
มรรยาททนายความ (ว่าด้วยเรื่อง มรรยาทต่อตัวความ)
https://www.facebook.com/profile.php?id=61570145816740
มรรยาททนายความ (ว่าด้วยเรื่อง มรรยาทต่อตัวความ)
https://www.facebook.com/profile.php?id=61570145816740
สัญญากู้ยืมเงิน ที่ไม่ได้กำหนดเวลาชำระคืน กรณีผู้กู้ถึงแก่ความตาย อายุความของสัญญากู้ยืมเงินหรือผู้ให้กู้จะต้องฟ้องทายาทของผู้กู้ ให้ชำระหนี้เงินกู้ภายใน 1 ปี
โดย ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์ (ทนายโทนี่)
https://www.facebook.com/profile.php?id=61570145816740
เจ้าหนี้หลายคนละเลยหรือประมาท ในเรื่องของการขาดอายุความ ความจริงการกู้ยืมเงินหรือสัญญาเงินกู้โดยทั่วไปจะมี อายุความ 10 ปี ในการฟ้องร้องเรียกเงินคืน แต่กรณีที่ลูกหนี้ตายไป เจ้าหนี้ต้องรีบฟ้องร้องกับทายาทของผู้ตายหรือทายาทลูกหนี้ ภายในกำหนดเวลา 1 ปี นับตั้งแต่เจ้าหนี้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของลูกหนี้ มิฉะนั้นถือว่าขาดอายุความ
อ้างอิง คำพิพากษาฎีกาที่8811/2556
สัญญากู้เงินระหว่างโจทก์กับ ส. ไม่ได้กำหนดเวลาชำระต้นเงินคืนไว้ โจทก์ย่อมเรียกให้จำเลยชำระหนี้ได้โดยพลันตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 วรรคหนึ่ง และถือเป็นเวลาที่ผู้ให้กู้อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ อายุความจึงเริ่มนับแต่วันถัดจากวันทำสัญญากู้เงิน และเมื่อ ส. ถึงแก่ความตายก่อนที่โจทก์ทวงถามก็ไม่อาจใช้อายุความทั่วไปตามที่โจทก์ฎีกาเพราะสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดกซึ่งยังไม่ถึงกำหนดเวลาบังคับเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตายก่อนถึงกำหนดนั้น เจ้าหนี้ก็ต้องฟ้องคดีเพื่อบังคับตามสิทธิเรียกร้องนั้น ภายในหนึ่งปีนับแต่ได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก เมื่อโจทก์เบิกความรับว่า ส. ถึงแก่ความตายในวันที่ 1 ธันวาคม 2548 และโจทก์อยู่ช่วยงานศพด้วย แสดงว่าโจทก์รู้ถึงการตายของ ส. ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2548 โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยในฐานะทายาทของ ส. ให้ชำระหนี้เงินกู้ยืมดังกล่าว เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2551 พ้นกำหนดเวลา 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการตายของ ส. ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม
หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 203 วรรคหนึ่ง
ถ้าเวลาอันจะพึงชำระหนี้นั้นมิได้กำหนดลงไว้ หรือจะอนุมานจากพฤติการณ์ทั้งปวงก็ไม่ได้ไซร้ ท่านว่าเจ้าหนี้ย่อมจะเรียกให้ชำระหนี้ได้โดยพลัน และฝ่ายลูกหนี้ก็ย่อมจะชำระหนี้ของตนได้โดยพลันดุจกัน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 วรรคสาม
ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 193/27 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ถ้าสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้อันมีต่อเจ้ามรดกมีกำหนดอายุความยาวกว่าหนึ่งปี มิให้เจ้าหนี้นั้นฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก
จ้างทนายความ ฟ้องคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหายได้จำนวนเท่าไหร่ ? และศาลใช้หลักเกณฑ์อะไรในการพิจารณา?
ความผิดฐานหมิ่นประมาท เป็นความผิดอันยอมความได้ไหม?
โดย ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์(ทนายโทนี่)
https://www.facebook.com/profile.php?id=61570145816740
คำถามประเด็นที่ 1 จ้างทนายความ ฟ้องคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหายได้จำนวนเท่าไหร่ ?
ตอบ หากถามผมว่าฟ้องคดีหมิ่นประมาทจะได้ค่าเสียหายจำนวนเท่าไหร่ ? ผมบอกไม่ได้ว่าผู้ฟ้องคดีหมิ่นประมาทหากว่าชนะคดีแล้วจะได้ค่าเสียหายจำนวนเท่าไร เพราะว่ามันมีหลักเกณฑ์และมีปัจจัยหลายอย่างที่ศาลจะต้องนำมาพิจารณา แต่พูดกันตามตรงนะครับ ว่าคดีหมิ่นประมาทในประเทศไทย ได้รับค่าเสียหายน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับ ประเทศสหรัฐอเมริกา ตัวอย่างเช่น
ประเทศสหรัฐอเมริกา ศาลสั่ง’ทรัมป์’จ่ายค่าเสียหายคดีหมิ่นประมาทคู่กรณีกว่า 83 ล้านดอลล์ หรือเกือบ 3,000 ล้านบาทให้กับนางอี. จีน แคร์โรลล์ ซึ่งยื่นฟ้องทรัมป์ที่ทำลายชื่อเสียงของเธอในฐานะที่เป็นนักข่าวที่น่าเชื่อถือ
สำหรับประเทศไทยของเรา หากบอกกันตรงตรง การจ่ายค่าเสียหายคดีหมิ่นประมาทให้แก่คู่กรณีจะได้ค่อนข้างน้อยส่วนใหญ่ก็แค่หลักหมื่น บางกรณีอาจจะมีบ้าง เป็นหลักแสน แต่เป็นหลักล้านจะมีน้อยมากๆฯ
ดังนั้น เราจะหวังว่าจะฟ้องคดีหมิ่นประมาทให้ได้เงินเป็นล้านเป็น 10 ล้านบาทหรือ 100 ล้านบาท มันไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ซึ่งส่วนใหญ่คดีประเภทนี้มักจะจบลงด้วยการเจรจาไกล่เกลี่ย และให้ฝ่ายที่เป็นจำเลยขอโทษและโพสต์ขอโทษตามสื่อต่างๆ แล้วก็ชดใช้เงินส่วนหนึ่ง ซึ่งคดีหมิ่นประมาทจำนวนมากไม่ได้รับค่าเสียหายเต็มตามจำนวนเงินที่ฟ้องเรียกค่าเสียหาย
เช่น ศาลตัดสินแล้ว คดีหมิ่นประมาททราย เจริญปุระ คู่กรณีต้องจ่ายค่าเสียหาย โพสต์ขอโทษอีก 200 วัน(อ้างอิง มติชนออนไลน์ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565)
คำถามประเด็นที่ 2 ศาลใช้หลักเกณฑ์อะไรในการพิจารณา?
ตอบ ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า การกำหนดค่าเสียหายในคดีหมิ่นประมาท นั้น ไม่ได้มีหลักเกณฑ์แน่นอนตายตัว ว่าจะต้องจ่ายกันเท่าไหร่ เพราะเป็นดุลยพินิจของศาล ที่จะต้องนั่งพิจารณาคดีนั้นๆ บางคดีอาจได้มากหรือได้น้อย ก็คงต้องดูพฤติการณ์ต่างๆในคดี และภาพรวม ซึ่ง หลักเกณฑ์ที่ศาลใช้ในการพิจารณามีดังต่อไปนี้
1.ข้อที่ศาลจะต้องนำเอาไปคิดและพิจารณา ข้อความหรือเนื้อหาหรือคำพูดของการหมิ่นประมาทนั้น เป็นข้อความหรือเนื้อหาหรือคำพูดในการหมิ่นประมาทนั้นมันรุนแรงหรือมันร้ายแรงหรือหนักเบามากน้อยเพียงใด หากเป็นการทำให้เขาได้รับความเสื่อมเสียชื่อเสียงอย่างร้ายแรงหรือรุนแรง อย่างนี้ ค่าเสียหายที่ได้รับก็จะสูงหรือเป็นจำนวนมาก แต่ถ้าหากว่าเป็นการหมิ่นประมาทแบบเรื่องเล็กๆน้อยๆ ไม่รุนแรงหรือร้ายแรง อันนี้ก็จะได้รับค่าเสียหาย ที่ต่ำหรือจำนวนน้อย
2.ข้อที่ศาลจะต้องนำเอาไปคิดและพิจารณา ก็คือว่ามีใครบ้าง ที่รับรู้ข้อความหรือเนื้อหาหรือคำพูด หากมีบุคคลต่างๆรับรู้เป็นจำนวนมาก เช่น การโพสต์ในช่อง YouTube มีคนดูเป็นหลักล้าน , การโพสต์ใน Facebook มีคนกดไลค์กดแชร์เป็นแสนเป็นล้าน หรือโพสต์ลงในสื่อออนไลน์อื่นๆ รวมทั้งสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ หากมีคนดูเป็นจำนวนมาก กล่าวคือมีคนรับรู้ในวงกว้าง และผู้เสียหายก็ได้รับผลกระทบในวงกว้าง อันนี้จะได้รับค่าเสียหายที่สูงหรือมากกว่า การโพสต์ใน Youtube มีคนดูแค่ 15 คน หรือโพสต์ใน Facebook มีคนกดไลค์อยู่ 1 คน หรือ มีการหมิ่นประมาทในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นกล่าวคือคนอ่านหรือดูเฉพาะในจังหวัดนั้นๆ ไม่ใช่หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ที่คนอ่านกันทั่วประเทศ แบบนี้คนรับรู้ในวงแคบและผู้เสียหายก็ได้รับผลกระทบในวงแคบ ก็จะได้รับค่าเสียหายที่ต่ำหรือน้อยลงไป
3.ข้อที่ศาลจะต้องนำเอาไปคิดและพิจารณา ก็คือเรื่องของระยะเวลาที่เกิดเหตุการณ์ของการหมิ่นประมาท รวมไปถึงจำนวนกี่ครั้งในการหมิ่นประมาท เช่น ถ้าข้อความหรือเนื้อหาหรือคำพูดในการหมิ่นประมาท เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีเขียนข้อความหรือเนื้อหาหรือคำพูด หมิ่นประมาทอยู่หลายครั้งหรือซ้ำแล้วซ้ำอีก เป็นจำนวนหลายหลายครั้ง เช่น มีการลงโพสต์ลงในกลุ่มไลน์ มีการเผยแพร่ในเว็บไซต์ มีการเผยแพร่ใน YouTube หรือสื่อออนไลน์ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง และเหตุการณ์เหล่านี้ก็เกิดขึ้นมาอย่างยาวนาน เป็นจำนวนหลายครั้งหรือเป็นจำนวนมาก มันก็เป็นส่วนหนึ่งที่ศาลจะเอามาคิดและพิจารณา คิดค่าเสียหาย ให้ได้รับค่าเสียหายที่สูงหรือมากขึ้น แต่ถ้าสมมุติโพสต์ลงใน Facebook หรือ Line หรือ Youtube เพียงแค่ 1 ครั้ง แล้วรีบลบหรืออีกวันสองวันรีบลบ ข้อความหรือเนื้อหาหรือคำพูด ออกจากระบบทันที หรือเป็นการแค่พูดหมิ่นประมาท แค่ครั้งเดียว พูดกับคนคนเดียวหรือสองคน อันนี้ค่าเสียหายที่จะได้รับมันก็จะต่ำหรือน้อยลงไป
4.ข้อที่ศาลจะต้องนำเอาไปคิดและพิจารณา ในเรื่องของการรับค่าเสียหายก็ คือฐานะทางสังคมของทั้งสองฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นโจทก์หรือจำเลย เช่นฐานะภาพทางด้านสังคม ด้านการศึกษา ของทั้งสองฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นของผู้ถูกกระทำ หากผู้ที่ถูกกระทำหรือโจทก์ เขาเป็นดารา เป็นนักการเมือง เป็นบุคคลหรือผู้มีชื่อเสียง เป็นนักร้อง กล่าวคือเป็นบุคคลที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไปอย่างกว้างขวาง แน่นอนว่าเขาก็จะได้รับความเสียในวงกว้างไปด้วย เขาก็จะได้รับค่าเสียหายที่สูงหรือจำนวนมาก แต่ถ้าโจทก์หรือผู้ถูกกระทำหรือผู้เสียหาร เป็นคนโดยทั่วไปไม่มีชื่อเสียง ไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้าง ก็จะได้รับค่าเสียหายที่ต่ำหรือน้อยกว่า อีกทั้งศาลยังพิจารณา ฐานะ อาชีพ รายได้ ของผู้กระทำกับผู้ถูกกระทำ ประกอบการพิจารณาอีกด้วย
ตัวอย่างเช่น ครูไพบูลย์ ชนะคดีหมิ่นประมาท ศาลตัดสินจำคุก นายห้างประจักษ์ชัย 4 ปี 16 เดือน ไม่รอลงอาญา จ่ายค่าเสียหาย 1 ล้านบาท ทั้งนี้ ภายหลังฟังคำพิพากษา จำเลยได้ ยื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์ขอปล่อยชั่วคราวระหว่างอุทธรณ์(อ้างอิง ข่าวออนไลน์7HD เมื่อวันที่ 23 มี.ค. 2566 ) ทั้งนี้ ครูไพบูลย์ เรียกค่าเสียหายเป็นเงิน 20 ล้านบาท แต่ศาลตัดสินสั่งจ่ายค่าเสียหายจำนวน 1 ล้านบาท
5.ข้อที่ศาลจะต้องนำเอาไปคิดและพิจารณา คือผลที่เกิดขึ้นจากการหมิ่นประมาท โดยเฉพาะ ผลกระทบกับคนที่ถูกกระทำมีมากน้อยเพียงใด เช่น การได้รับความอับอายขายหน้า ความเจ็บใจ เพราะ บางคนถูกสังคมตราหน้า บางคนถึงขั้นต้องลาออกจากงานไปเลย บางคนเสียสุขภาพจิต บางคนเป็นโรคซึมเศร้า บางคนอาจถูกดำเนินการทางวินัย บางคนถูกถูกตั้งกรรมการสอบสวน พวกนี้เป็นองค์ประกอบที่ศาลจะนำเอามาเป็นหลักเกณฑ์ในการคิดและวินิจฉัยค่าเสียหายว่าจะได้รับมากน้อยเพียงใด
6.ข้อที่ศาลจะต้องนำเอาไปคิดและพิจารณา คือการสำนึกผิดของผู้กระทำความผิด และผู้กระทำความผิดหรือจำเลยในคดีหมิ่นประมาท ได้มีการบรรเทาผลร้ายอะไรบ้างให้แก่โจทก์ เช่น สมมุติว่า นาย ก.ได้กระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต่อมา นาย ก.ได้สำนึกผิด แล้วได้ลบโพสต์ ข้อความหรือเนื้อหาหรือคำพูด ออกจากระบบ ไม่ว่าจะเป็น Youtube , Facebook , Line ฯลฯ ออกไปแล้ว อีกทั้งยังได้โพสต์ ข้อความหรือเนื้อหาหรือคำพูด ที่เป็นการขอโทษ และได้มีการพูดคุยกันทำการขอโทษกับผู้เสียหายโดยตรง มีการกราบเท้าเพื่อขอโทษ มีการเจรจาขอวางเงินเพื่อชดใช้ ค่าเสียหาย จำนวนหนึ่ง ลักษณะอย่างนี้เขาถือได้ว่า จำเลย ได้พยายามบรรเทาผลร้าย แล้วได้สำนึกผิด ในการกระทำของตนเอง ศาลก็จะพิจารณาให้ชดใช้ค่าเสียหายที่ต่ำลงหรือน้อยลง
สรุป สำหรับการฟ้องคดีหมิ่นประมาท ซึ่งมีความผิดทั้งทางอาญาและละเมิดในทางแพ่ง
ในทางอาญานั้นกฎหมายกำหนดระวางโทษจำคุกและปรับสำหรับความผิดฐานหมิ่นประมาท ส่วนในทางแพ่งนั้นการกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทนั้นถือเป็นการละเมิด มาตราที่มีความเกี่ยวข้อง คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา
๔๒๐ , มาตรา ๔๒๓ และ มาตรา ๔๔๗
คำถามประเด็นที่ 3 ความผิดฐานหมิ่นประมาท เป็นความผิดอันยอมความได้ไหม?
ตอบ คดีหมิ่นประมาทหรือความผิดฐานหมิ่นประมาท เป็นความผิดอันยอมความได้ ประมวลกฎหมายอาญา หมวด ๓
ความผิดฐานหมิ่นประมาท มาตรา ๓๓๓ บัญญัติไว้ว่า ความผิดในหมวดนี้เป็นความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายในความผิดฐานหมิ่นประมาทตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย
สำหรับข้อควรระวัง หากไม่แน่ใจ ก็ไม่ควรรีบร้อนไปแจ้งความ ควรปรึกษาทนายความหรือบุคคลที่มีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายหมิ่นประมาทก่อนแจ้งความ เพราะหากแจ้งความไปแล้ว อาจโดนฟ้องกลับได้ โดยจำเลยสามารถฟ้องกลับได้ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 172 การให้ข้อมูลอันเป็นเท็จ
เมื่อเจอคนที่ใช่ คุณจะรู้สึกถึงความสบายใจ
ในบางครั้งคนที่ใช่ ไม่ใช่เป็นคนที่สมบูรณ์แบบ แต่ เป็นคนที่ทำให้เรามีความสุขจริงๆเวลาที่อยู่ใกล้ และรักเราในแบบที่เราเป็น ไม่ใช่รักเราในแบบที่เขาอยากจะให้เราเป็น
แต่ในบางครั้งชีวิตของคนเราก็ไม่สามารถควบคุมได้เพราะ
“ ในบางครั้งคนที่ใช่ก็มาในช่วงเวลาที่ไม่ใช่ และบางครั้งคนที่ไม่ใช่ก็เข้ามาในช่วงเวลาที่ใช่ ”
โดย…สุทธิชัย ปัญญโรจน์(อาจารย์โทนี่)
www.drsuthichai.com