มุมนั่งเล่นนอกบ้านสวยๆ ทำจากแผ่นปูทางเท้า

มุมนั่งเล่นนอกบ้านสวยๆ ทำจากแผ่นปูทางเท้า

มุมนั่งเล่นนอกบ้านสวยๆ

แผ่นปูทางเท้า วัสดุก่อสร้างที่คุ้นเคยกันดีเวลาเดินตามทางเท้าสาธารณะ แต่จริงๆ แล้วสามารถใช้ตกแต่งหรือต่อเติมได้สารพัด ทั้งตกแต่งสวน ตกแต่งพื้นที่ภายนอก และยังนำมาจัดมุมนั่งเล่นนอกบ้านได้อีกด้วย ไอเดียมุมนั่งเล่นนอกบ้านสวยๆ ทำจากแผ่นปูทางเท้ามีแบบไหนน่าสนใจบ้าง ไปดูกันเลย

 

ไอเดียมุมนั่งเล่นนอกบ้านสวยๆ ทำจากแผ่นปูทางเท้า

พื้นทางเดิน/พื้นนั่งเล่น

การใช้แผ่นทางเท้าเป็นวัสดุหลักในการสร้างมุมนั่งเล่นนอกบ้าน จะช่วยเพิ่มความทันสมัยและความอบอุ่นให้กับพื้นที่ โดยสามารถนำมาปูพื้นเป็นทางเดินหรือพื้นนั่งเล่นที่มีความเรียบง่ายแต่ดูดี นอกจากนี้ยังสามารถผสมผสานกับองค์ประกอบอื่นๆ เช่น ต้นไม้หรือเฟอร์นิเจอร์ไม้เพื่อเพิ่มความน่าสนใจและความสดชื่นให้กับมุมนั่งเล่นได้ด้วย

แนะนำให้เลือกแผ่นปูนสีเทาและปูพื้นในรูปแบบที่ไม่ซ้ำกัน เช่น การปูสลับขนาดของแผ่นปูน จะช่วยเพิ่มความเป็น Loft ให้กับบ้านและยังทำให้สวนดูน่าสนใจมากขึ้น

 

มุมนั่งเล่นใต้ต้นไม้

การจัดพื้นที่นั่งเล่นใต้ต้นไม้ด้วยการใช้แผ่นทางเดินหรือบล็อกคอนกรีตในการปูพื้น สามารถเพิ่มความโดดเด่นให้กับพื้นที่ได้ และที่สำคัญคือทำให้บริเวณนั้นดูแลทำความสะอาดง่าย ไม่เกิดน้ำขัง สามารถเลือกสีสันที่เข้ากับบ้านได้

แนะนำแผ่นปูนเปลือยในการปูพื้นและเพิ่มการตกแต่งด้วยหินกรวด ซึ่งจะช่วยให้สวนดูโดดเด่นและมีความเป็นธรรมชาติยิ่งขึ้น

 

มุมนั่งเล่นริมระเบียง

การจัดมุมนั่งเล่นที่ริมระเบียงเป็นทางเลือกที่ดี โดยสามารถใช้แผ่นทางเท้าในการสร้างพื้นและใช้เฟอร์นิเจอร์ที่เข้ากับสไตล์ของบ้าน เพื่อให้สามารถนั่งชมสวนได้อย่างสะดวกสบาย

 

สวนแนวตั้ง

แผ่นทางเท้าสามารถใช้ในการสร้างกำแพงหรือฐานสำหรับการปลูกต้นไม้ในแนวตั้ง ซึ่งช่วยประหยัดพื้นที่และเพิ่มความสวยงามให้กับสวนได้

 

การจัดพื้นที่ให้มีขอบเขตชัดเจน

การสร้างขอบเขตที่ชัดเจนระหว่างมุมนั่งเล่นกับสวนหรือพื้นที่อื่น ๆ สามารถทำได้โดยการใช้แผ่นทางเท้าในการกั้นพื้นที่ ซึ่งจะช่วยให้มุมนี้ดูเป็นระเบียบและมีสไตล์มากขึ้น

 

ข้อดีของมุมนั่งเล่นนอกบ้าน

การพักผ่อน ไม่จำเป็นจะต้องเป็นการนั่ง/นอนภายในบ้านเท่านั้น การได้ออกมาเดินหรือนั่งเล่นนอกบ้าน ก็เป็นอีกวิธีที่ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายและเป็นการพักผ่อนในวันหยุดด้วยเช่นกัน ยิ่งถ้ามีมุมนั่งเล่นนอกบ้านดีๆ จะช่วยทำให้บ้านน่าอยู่ยิ่งขึ้นไปอีก มาดูข้อดีของการมีมุมนั่งเล่นนอกบ้านกันค่ะ

  • ได้ใกล้ชิดธรรมชาติ

มุมนั่งเล่นนอกบ้านช่วยให้ผู้อยู่อาศัยสามารถสัมผัสกับธรรมชาติได้อย่างใกล้ชิด เช่น การนั่งชมสวนหรือรับลมเย็น ซึ่งช่วยสร้างความรู้สึกผ่อนคลาย

  • มีพื้นที่พักผ่อน

มุมนั่งเล่นนอกบ้านสามารถใช้เป็นพื้นที่สำหรับการพักผ่อนหรือสังสรรค์กับครอบครัวและเพื่อนฝูง ทำให้บ้านมีบรรยากาศที่เป็นกันเองและอบอุ่น

  • การออกแบบที่หลากหลาย มุมนั่งเล่นสามารถออกแบบให้เชื่อมต่อกับพื้นที่ในบ้านได้อย่างลงตัว เช่น การสร้างห้องนั่งเล่นกลางแจ้งที่มีการตกแต่งอย่างสวยงาม หรือการใช้วัสดุที่ทนทานต่อสภาพอากาศ
  • บ้านน่าอยู่มากขึ้น

การมีมุมนั่งเล่นนอกบ้านสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับบ้านได้ เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่สามารถใช้งานได้หลากหลายและมีความน่าสนใจ

  • ส่งเสริมไลฟ์สไตล์ที่ดี

การมีพื้นที่นอกบ้านที่สามารถใช้งานได้ช่วยส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมกลางแจ้ง เช่น การอ่านหนังสือหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งส่งผลดีต่อสุขภาพจิตและร่างกาย

 

การมีมุมนั่งเล่นนอกบ้านไม่เพียงแต่เป็นการเพิ่มพื้นที่ใช้สอย แต่ยังช่วยเสริมสร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลายและเชื่อมต่อกับธรรมชาติอีกด้วย นี่คือเหตุผลที่มุมนั่งเล่นนอกบ้านถือเป็นสิ่งที่จำเป็นในบ้านสมัยใหม่นั่นเอง และด้วยวัสดุที่ดีอย่างแผ่นปูทางเท้า คุณจะได้มุมนั่งเล่นที่ดูทันสมัยและมีเอกลักษณ์มากขึ้น

 

บทความที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้อง>>> เลือกวัสดุกตกแต่งบ้านแบบกระเป๋าไม่ฉีก แผ่นปูทางเท้า

เสารั้วมีกี่ประเภท จุดเด่นจุดด้อย เลือกใช้แบบไหนดี

เสารั้วมีกี่ประเภท จุดเด่นจุดด้อย เลือกใช้แบบไหนดี

เสารั้วมีกี่ประเภท

เสารั้วคืออะไร

เสารั้ว คือส่วนประกอบที่ขาดไม่ได้ของรั้ว บทบาทสำคัญของเสาก็เพื่อช่วยรับน้ำหนักรั้ว พยุงรั้วไม่ให้ล้มหรือเอนเอียง ฉะนั้นเพื่อให้รั้วแข็งแรงและมั่นคง การเลือกเสาจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเสาแต่ละประเภทก็มีจุดเด่นจุดด้อยที่แตกต่างกัน การเลือกใช้งานจึงต้องเลือกให้เหมาะสม

ในบทความนี้เราจะพาไปดูกันว่า เสาที่นิยมนำมาเป็นส่วนประกอบของรั้วมีกี่ประเภท แต่ละประเภทมีจุดเด่นจุดด้อย และแนวทางการนำไปใช้งานอย่างไร

 

เสาที่นิยมนำมาเป็นส่วนประกอบของรั้ว

เสามีหลายประเภทที่ใช้ในการทำรั้วบ้าน โดยทั่วไปสามารถแบ่งออกเป็นประเภทหลัก ๆ ดังนี้

เสาไม้

เสาไม้ เป็นเสาที่ใช้ไม้เป็นวัสดุหลักในการสร้าง มักใช้ในงานก่อสร้างที่ต้องการความสวยงามและเป็นธรรมชาติ

จุดเด่น

  • มีลักษณะและสีสันที่เป็นธรรมชาติ ทำให้บ้านดูมีเสน่ห์และหรูหรามากขึ้น
  • มีน้ำหนักเบากว่าเสาปูน ทำให้การขนย้ายและติดตั้งทำได้ง่ายกว่า
  • มีความยืดหยุ่น สามารถปรับรูปแบบและขนาดได้ง่ายตามความต้องการของการออกแบบ

จุดด้อย

  • มีแนวโน้มที่จะถูกปลวกและแมลงกัดกิน ทำให้ต้องดูแลรักษาอย่างเข้มงวดเพื่อป้องกันความเสียหาย
  • ไม้มีการยืดหดตามสภาพอากาศ ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหารั่วซึมระหว่างช่องว่างของไม้ได้
  • วัสดุไม้โดยเฉพาะไม้เนื้อแข็งมีราคาค่อนข้างสูง ทำให้ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างเพิ่มขึ้น

 

เสารั้วอัดแรง/เสารั้วลวดหนาม

เสารั้วอัดแรง/เสารั้วลวดหนาม เป็นเสาที่ใช้คอนกรีตเป็นวัสดุหลัก มีการใช้เทคโนโลยีอัดแรงและเสริมด้วยเหล็ก ทำให้สามารถรับน้ำหนักและแรงกระแทกได้ดีกว่าเสารั้วคอนกรีตทั่วไป

จุดเด่น

  • แข็งแรงทนทาน มีความสามารถในการรับน้ำหนักได้ดี ทนทานต่อสภาพอากาศและการกัดกร่อน ทำให้เหมาะสำหรับรั้วที่ต้องการความมั่นคง
  • เสารั้วอัดแรงได้รับการผลิตตามมาตรฐานที่เข้มงวด ทำให้มั่นใจในคุณภาพและความปลอดภัย
  • ติดตั้งได้ง่ายและรวดเร็ว โดยไม่ต้องใช้เวลานานในการบ่มคอนกรีต
  • มีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าเสาไม้ โดยไม่ต้องบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอเหมือนเสาไม้

จุดด้อย

  • มักมีราคาสูงกว่าเสารั้วประเภทอื่น เช่น เสารั้วไม้หรือเหล็ก เนื่องจากกระบวนการผลิตที่ซับซ้อนและวัสดุคุณภาพสูงที่ใช้
  • การติดตั้งอาจต้องการทีมงานที่มีความชำนาญ เนื่องจากต้องมีการวางแผนและการทำงานที่ละเอียด เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
  • อาจมีข้อจำกัดในด้านการออกแบบและความสวยงามเมื่อเปรียบเทียบกับวัสดุอื่น เช่น รั้วไม้หรือรั้วเหล็กที่สามารถปรับแต่งได้ง่ายกว่า

 

เสาเหล็ก

เสาเหล็ก เป็นเสาที่ทำจากเหล็ก เมื่อนำมาใช้เป็นเสารั้วจะช่วยเพิ่มความมั่นคงและแข็งแรง

จุดเด่น

  • มีความแข็งแรงสูงและสามารถติดตั้งได้ง่าย
  • ไม่ต้องกังวลเรื่องเชื้อราและการผุกร่อนเหมือนเสาไม้
  • สามารถควบคุมปัจจัยการสร้างได้ดี และลดปัญหาเรื่องฝุ่น

จุดด้อย

  • เสารั้วเหล็กอาจเกิดสนิมได้ง่าย โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีความชื้นสูงหรือใกล้ทะเล
  • มีน้ำหนักมาก ซึ่งอาจทำให้การติดตั้งและการขนส่งเป็นเรื่องยากขึ้น
  • มักมีรูปแบบที่ค่อนข้างตายตัว ไม่ค่อยยืดหยุ่นกับการใช้งานในบางพื้นที่หรือการออกแบบที่ต้องการความหลากหลาย
  • ไม่ทนต่อความร้อนมากนัก ทำให้มีข้อจำกัดในบางสภาพแวดล้อม

 

เสาเข็มไอ

เสาเข็มไอ เป็นเสาที่มีลักษณะเป็นรูปตัว “ไอ” นิยมนำมาใช้งานตั้งแต่งานก่อสร้างขนาดใหญ่ เช่น สร้างบ้าน  อาคาร ถนน ไปจนถึงงานก่อสร้างขนาดเล็ก เช่น รั้ว กำแพงกันดิน

จุดเด่น

  • ราคาถูก ไม่ขึ้นสนิม
  • รับน้ำหนักได้ดี
  • แข็งแรงและทนทานต่อสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ทำให้มีอายุการใช้งานยาวนาน

จุดด้อย

  • ต้องใช้ควบคู่กับแผ่นรั้วคอนกรีตสำเร็จรูป หรือแผ่นกันดินเท่านั้น

 

สรุป

เสารั้วมีหลายประเภท และแต่ละประเภทก็มีจุดเด่นและด้อยที่ต่างกันไป จึงไม่สามารถการันตีได้ว่าเสาไหนดีหรือไม่ดี แต่สิ่งที่ทำได้คือ เลือกเสาให้ตรงกับประเภทรั้ว เช่น ถ้าอยากทำรั้วลวดหนามก็ควรใช้เสารั้วอัดแรง/เสารั้วลวดหนาม แต่ถ้าอยากทำรั้วสำเร็จรูป ก็จำเป็นต้องใช้เสาเข็มไอ เพราะการเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสม จะช่วยเสริมความแข็งแรงและมั่นคงให้กับการสร้างรั้วนั่นเอง

เสารั้วอัดแรงคืออะไร ประโยชน์เมื่อนำมาใช้ร่วมกับรั้วลวดหนาม

เสารั้วอัดแรงคืออะไร ประโยชน์เมื่อนำมาใช้ร่วมกับรั้วลวดหนาม

#image_title

ตัวแปรสำคัญของการจะเป็นตัวช่วยทำให้การติดตั้งรั้วลวดหนาม มีความสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น จะเป็นสิ่งที่ได้ใช้ประโยชน์จากการใช้งาน เสารั้วอัดแรง เสารั้วคอนกรีตแบบใหม่ล่าสุดที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย

 

เสารั้วอัดแรงคืออะไร?

เป็นเสาคอนกรีตอัดแรงที่ผลิตด้วยความพิถีพิถัน มีเหล็กเสริมเป็นส่วนผสมของโครงสร้างเสา ทำให้รั้วลวดหนามมีความแข็งแรงมากยิ่งขึ้น และที่สำคัญคือประเด็นของการติดตั้ง ที่ทำให้เกิดความรวดเร็วยิ่งขึ้น สามารถจบงานได้ในระยะเวลาเพียงแค่ไม่เกิน 2 วัน เมื่อใช้กับพื้นที่ติดตั้งรั้วลวดหนามที่เทียบได้กับบริเวณบ้านพักอาศัย 1 หลัง โดยปัจจัยที่เสารั้วชนิดนี้แสดงให้เห็นว่าส่งผลดียิ่งขึ้นนั้น เราสามารถสรุปได้ทั้งหมด 3 ประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้

#image_title

ประโยชน์ของเสารั้วอัดแรง

  1. ช่วยตัดขั้นตอนการขุดหลุมเสา

ส่วนใหญ่แล้วการขุดหลุมเสารั้วลวดหนาม ถือว่าเป็นขั้นตอนที่ค่อนข้างจะใช้เวลา ในการติดตั้งกันนานพอสมควรเลยทีเดียว ซึ่งถือว่าเป็นตัวแปรที่สำคัญ ของการที่ท่านจะได้ใช้ประโยชน์ จากจุดเด่นในข้อนี้ของเสารั้วอัดแรง มาเป็นตัวช่วยำให้ความสะดวก ของการสร้างรั้วลวดหนามนั้น มีความง่ายดายสะดวกสบายยิ่งขึ้น

และที่สำคัญในส่วนของเสารั้วอัดแรงนั้น ก็ยังคงมีความแข็งแรงเป็นนวัตกรรมของการผลิตแบบใหม่ ที่ทำขึ้นมาในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ทำให้ความทนทานของเสารั้วอัดแรง จะเป็นตัวช่วยในการที่จะทำให้ รั้วลวดหนามนั้นมีความแข็งแรงยิ่งขึ้น

 

  1. ทำให้รั้วลวดหนามตึงยิ่งขึ้น ด้วยเครื่องมือช่วยดึงลวดหนาม

การติดตั้งเสารั้วลวดหนาม กับการขึงลวดหนามให้ตึง ครั้งหนึ่งเคยเป็นอุปสรรค สำหรับการสร้างแนวรั้วรูปแบบนี้กันพอสมควร เพราะส่วนสำคัญ ของการที่จะใช้งานรูปแบบของ เครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ อาจจะมีปัญหากับส่วนประกอบแบบเก่าของรั้วลวดหนาม เช่น เสารั้วไม้กับการขึงลวดหนามให้ตึง ถือว่ามีปัญหาที่พบเห็นกันพอสมควร ที่เครื่องมือการช่วยขึงลวดหนามนั้นจะใช้งานร่วมกับเสารั้วลวดหนามที่เป็นไม้ได้ยากมาก ด้วยความไม่สมบูรณ์ของเสารั้ว และความแน่นของหลุมเสารั้วลวดหนาม แต่ด้วยความแข็งแรง ได้สมดุลของเสารั้วอัดแรง เป็นตัวแปรที่สำคัญ ที่จะทำให้การขึงลวดหนามนั้น สามารถทำได้อย่างเต็มรูปแบบ ด้วยคุณสมบัติของเสารั้วที่ทำใหฝังหลุมได้อย่างแน่นหนา ทำให้ใช้เครื่องขึงลวดหนาม ได้อย่างเต็มที่ด้วยนั่นเอง

 

  1. ตัดขั้นตอนทำรั้วลวดหนามบางส่วนออกไป ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายยิ่งขึ้น

อาจจะเป็นแบบแผนที่ลงตัวที่สุด และอาจจะเป็นสากลสำหรับการติดตั้งรั้วลวดหนาม ถ้าหากว่าสามารถเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบ และเปลี่ยนแปลงกระชับขั้นตอนต่างๆ ให้มีความสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้นได้แค่ไหน ก็ยิ่งจะสามารถทำให้งบประมาณการสร้างนั้นลดลง ซึ่งจากการใช้งานเสารั้วอัดแรง มีขั้นตอนต่างๆ ที่เคยใช้กับเสารั้วแบบดั้งเดิม ที่มีการตัดทอนออกไป มากกว่าสองขั้นตอน แต่ยังได้เพิ่มความแข็งแรงทนทาน และมาตรฐาน ของการติดตั้งที่มีความสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น

 

สรุป

รูปแบบของการติดตั้งเสารั้วอัดแรง ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เข้ามาทำให้รั้วลวดหนามนั้น สามารถมีอายุการใช้งานที่ดีขึ้น ภายใต้ส่วนของวิธีการติดตั้งที่สะดวกรวดเร็ว และยังมีส่วนสำคัญของการสร้าง วิธีการติดตั้งที่มีมาตรฐานกว่าเดิม จากบทสรุปทั้งสามข้อที่เราได้รวบยอด มาให้ทุกท่านได้ศึกษากันในวันนี้ น่าจะเป็นตัวแปรสำคัญ ที่แสดงให้เห็นแล้วว่า จะเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงรูปแบบ ของการทำให้รั้วลวดหนามนั้น มีมาตรฐานของแนวรั้วที่แข็งแรง ได้คุณภาพยิ่งขึ้นหลายเท่าตัวเลยทีเดียว

สร้างบ้านสไตล์ไทย ที่มาพร้อมกับการใช้เสาเข็มสี่เหลี่ยมตัน

สร้างบ้านสไตล์ไทย ที่มาพร้อมกับการใช้เสาเข็มสี่เหลี่ยมตัน

การใช้เสาเข็มสี่เหลี่ยมตัน

ปัจจุบันในประเทศไทย ในทุกๆ โครงสร้างของบ้าน ที่เริ่มตั้งแต่บ้านชั้นเดียว ไปจนถึงบ้านในลักษณะมากกว่า 2 ชั้นขึ้นไป ถือว่าเป็นบ้านที่มีปัจจัยของการออกแบบ ที่ต้องมีความเข้าใจถึงความเสี่ยงและปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ที่จะทำให้บ้านมีความแข็งแรงมั่นคงยิ่งขึ้น เป็นสไตล์ไทยที่มีการให้ความสำคัญกับความปลอดภัย และอายุการใช้งานของบ้านที่ยาวนานยิ่งขึ้น

ดังนั้นจึงพบเห็นว่า ปัจจุบันจะมีให้เห็นน้อยมากกับลักษณะของบ้าน ที่มีการทรุดในระยะเวลาที่เข้าพักอาศัย เพียงไม่กี่ปีเท่านั้น ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่เป็นผลมาจากตัวแปรของการใช้ส่วนประกอบที่อยู่ใต้ฐานราก ที่มีเสาเข็มที่เรียกว่า เสาเข็มสี่เหลี่ยมตัน เป็นหนึ่งในส่วนประกอบของโครงสร้างบ้านในแบบไทยในยุคใหม่นั่นเอง

 

ความแข็งแรงของชุดโครงสร้างบ้านที่ได้จากการใช้งานเสาเข็มสี่เหลี่ยมตัน

ถ้าหากว่าจะหาเสาเข็มที่จะทำงานร่วมกับฐานรากได้อย่างสมดุลที่สุด การที่เสาเข็มจะมีลักษณะของหน้าตัด ที่มีผิวสัมผัสที่ได้รับการการันตีแล้วว่า พื้นผิวสัมผัสของเสาเข็มสี่เหลี่ยมตัน สามารถสร้างแรงเสียดทานใต้ผิวดินได้เป็นอย่างดี จะเป็นหนึ่งในปัจจัยที่จะการันตีได้ว่า เสาเข็มชนิดนี้จะสามารถเป็นส่วนประกอบหนึ่งของความแข็งแรงที่เกิดขึ้นภายใต้โครงสร้าง ของรูปแบบบ้านพักอาศัยในแบบไทยได้ทุกแบบอย่างสมบูรณ์ที่สุด

ซึ่งปัจจุบันแม้กระทั่งการรีโนเวทบ้านที่ผ่านอายุมาหลายสิบปี อาจจะเกินร้อยปี หากต้องเพิ่มพื้นที่ใช้สอย หรือแก้ไขปัญหาของความเสี่ยงของบ้าน ที่มีแนวโน้มที่จะทรุดนั้น การใช้เสาเข็มสี่เหลี่ยมตัน เข้าไปแก้ไขปัญหาเหล่านั้นก็ถือว่า เป็นส่วนผสมที่ลงตัวของการประกอบร่างของชุดโครงสร้างเก่า ให้แข็งแรงเหมือนใหม่ได้เช่นกัน โดยถือว่าเป็นหนึ่งในสูตรสำเร็จ ที่บ้านในประเทศเรานั้น สามารถทนทานต่อทุกสภาพอากาศ มีเปอร์เซ็นต์ของการชำรุดที่น้อย ไม่ว่าจะเป็นชุดโครงสร้างในรูปแบบใดๆ ก็ตาม

 

คุณภาพของการทำงานร่วมกับฐานรากของเสาเข็มสี่เหลี่ยมตัน

ฐานรากก็คงจะเหมือนกับพื้นฐานที่จะคอยรองรับน้ำหนักทั้งหมด ที่นับจากส่วนบนสุดอย่างโครงหลังคา วัสดุมุงหลังคา และนับเรียงจากบนลงมาหาล่างซึ่ง ถ้าหากว่าเป็นการสร้างบ้านแบบสไตล์ไทยเรา ที่แม้ว่ายุคนี้จะมีการผสมผสานดีไซน์ของตะวันตกมาเป็นส่วนหนึ่งของแบบบ้าน ที่คนรุ่นใหม่นิยมมากขึ้น แต่แน่นอนว่าการถ่ายเทน้ำหนัก หรือน้ำหนักทั้งหมดของโครงสร้างนั้น ก็ยังคงต้องพึ่งพาการทำงานโครงสร้างทั้งหมด ที่อ้างอิงจากความแข็งแรงของชุดงานฐานรากอยู่

ดังนั้นคุณภาพของการทำงานควบคู่กันระหว่าง เสาเข็มสี่เหลี่ยมตันกับฐานราก ที่มีลักษณะของฟังก์ชั่นการใช้งาน ที่ออกแบบมาอย่างเหมาะสม จึงเป็นเหมือนกับการจับคู่ ที่ทำให้เกิดเคมีที่เข้ากันอย่างลงตัว เกิดการรับน้ำหนักบรรทุกทั้งหมดของโครงสร้างบ้านแบบไทย ไม่ว่าจะกี่ชั้นก็สามารถทำงานได้อย่างลงตัว ซึ่งจะถือว่าเป็นส่วนที่สำคัญ ของบ้านแทบจะทุกแห่งในประเทศเราตอนนี้ เป็นบ้านที่แข็งแรง และรับรองเรื่องความทนทานของโครงสร้างได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ หากเป็นการสร้างขึ้นจากชุดฐานราก ที่มีเสาเข็มสี่เหลี่ยมตันรองรับอยู่ใต้ดิน

 

บทสรุปตอนท้าย

ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบ ของการสร้างบ้านแบบใดๆ ก็ตาม ในประเทศเราตอนนี้ เชื่อได้เลยว่า ร้อยละ 99 ของโครงสร้างฐานราก ที่เป็นจุดเริ่มต้น ของการก่อสร้างบ้านแบบไทย ที่เราพูดถึงอยู่นี้นั้น เป็นการเริ่มต้นจากการทำงาน ด้วยเสาเข็มสี่่เหลี่ยมตันกันทั้งหมดแน่นอน ซึ่งปัจจุบันนี้น่าจะนับอายุมากกว่าห้าสิบปี ที่มีการใช้งานเสาเข็มสี่เหลี่ยมตัน ในแวดวงของการสร้างบ้านในประเทศเราเลยทีเดียว

3 สิ่งที่น่าสนใจของเสาไฟฟ้าคอนกรีต

3 สิ่งที่น่าสนใจของเสาไฟฟ้าคอนกรีต

เสาไฟฟ้าคอนกรีต

ปัจจุบันเสาไฟฟ้าคอนกรีต ถือว่าเป็นสิ่งปลูกสร้างอย่างหนึ่งที่มีผลกับชีวิตของผู้คนเป็นอย่างมาก เพราะถือว่าถ้าขาดเสาไฟฟ้าไป ก็เท่ากับคุณภาพชีวิตของผู้คนนั้นต้องมีปัญหาตามมามากมายแน่นอน

เพราะฉะนั้นความสำคัญของสิ่งปลูกสร้างสาธารณะชนิดนี้ ถือวาเป็นหนึ่งในข้อมูลที่หลายๆ ท่านจำเป็นที่จะต้องได้รับรู้ข้อมูลบางอย่าง ไว้เป็นความรู้ สำหรับทำความเข้าใจกับสิ่งปลูกสร้างประเภทนี้ให้มากขึ้น ดังนั้นเราจึงเอาข้อมูลที่จะทำให้หลายท่าน ได้เข้าใจหลายๆ ส่วนของเสาไฟฟ้ากันมากยิ่งขึ้น ซึ่งมีทั้งหมด 3 ข้อที่น่าสนใจ ดังต่อไปนี้

 

ที่มาของเสาไฟฟ้าคอนกรีต

  1. เสาไฟฟ้าคอนกรีตเป็นเสาปูนที่มีการผลิตในขั้นตอนพิเศษ

สำหรับบางท่าน อาจจะตีความเสาไฟฟ้าคอนกรีต ว่าเป็นแท่นปูนขนาดใหญ่อย่างหนึ่ง โดยที่อาจจะไม่เข้าใจว่า ในรายละเอียด ของการผลิตเสาปูนชนิดนี้นั้น ได้ถูกคัดสรรขั้นตอนต่างๆ ในการผลิต และยังรวมไปถึงวัตถุดิบ หรือส่วนประกอบในการผลิต ที่มีความพิเศษกว่าเสาปูนชนิดอื่นๆ ทั่วไปที่พบเห็น เพราะตัวอย่างเช่นเหล็กเสริมพีซีไวร์ ที่ใช้กับการผลิตเสาไฟฟ้านั้น ก็เป็นเหล็กที่เรียกว่าเหล็กกล้า ที่มีใช้พิเศษ สำหรับขั้นตอนการผลิตแบบคอนกรีตอัดแรงเท่านั้น ดังนั้นเสาไฟฟ้าคอนกรีต จึงมีมาตรฐานทางด้านความทนทาน ที่แตกต่างจากเสาปูนชนิดอื่นๆ กันมากพอสมควรเลยทีเดียว ด้วยวิธีการที่ถูกใช้งาน ที่ต้องรับแรงจากหลากหลายมิติ ทั้งแรงดึง และแรงจากแนวดิ่ง เป็นต้น

 

  1. คอนกรีตที่ใช้ผลิตเสาไฟฟ้า จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 วัน

วัตถุดิบหลักๆ ของการผลิตเสาไฟฟ้าคอนกรีต แน่นอนที่สุดว่าต้องเป็นคอนกรีต แต่ในกระบวนการที่เรียกว่า คอนกรีตอัดแรงนั้น การบ่มในแบบหล่อ ที่มีการเตรียมการไว้ในโรงงานนั้น จะต้องมีการยุในการสะสมในแบบหล่อ ที่แตกต่างจากทั่วไป โดยลิมิตต่ำสุดจะอยู่ที่ 20 วัน จึงจะการันตี ในด้านของค่ากำลังรับแรงอัดสูงสุด ได้ตามมาตรฐาน ที่เป็นข้อกำหนดจากการไฟฟ้า ได้มีการกำหนดไว้ชัดเจน แต่ส่วนใหญ่แล้วมาตรฐษน ของความแข็งแรงที่จะทำให้กำลังรับแรงที่เหมาะสม จะอยู่ที่ 28 วัน ซึ่งตัวเลขที่ได้จะต้องไม่น้อยกว่า 500 กิโลกรัมต่อตารางเซ็นติเมตรนั่นเอง

 

  1. ข้อกำหนดการไฟฟ้า เป็นตัวกำหนดคุณภาพของการผลิตเสาไฟฟ้า

และภายใต้รูปแบบ ของการผลิตเสาไฟฟ้าคอนกรีต ที่มีความพิเศษในด้านของประสิทธิภาพ ที่มากกว่าเสาปูนทั่วไป ซึ่งเบื้องหลังของความพิเศษนี้ จะเป็นตัวกำหนดที่มาจากภาครัฐ ที่เรียกกันว่า ข้อกำหนดการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ที่จะร่างในส่วนของสเปค ทั้งขนาดและวัตถุดิบในการผลิต และจะมีการตรวจสอบเป็นระยะ เพื่อให้มั่นใจว่า โรงงานที่รับหน้าที่ ในการผลิตและจำหน่ายเสาไฟฟ้านั้น จะทำตามกฏข้อบังคับทั้งหมดอย่างเคร่งครัด ดังนั้นในส่วนนี้จึงเป็นลักษณะที่ถือว่าตายตัว ที่จะกำหนดให้คุณภาพของเสาไฟฟ้าคอนกรีตนั้น อยู่ในมาตรฐานที่ต้องมีทั้งความแข็งแรง ทั้งคุณภาพของสัดส่วน ทั้งหน้าตัดและความยาวที่เหมาะสม

 

บทสรุป

เป็น 3 ใจความสำคัญ ที่จะแสดงให้เห็นว่า นี่คือสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพ ของเสาไฟฟ้าคอนกรีต เสาปูนที่มีความแข็งแรงสูง และยังมีจุดเด่นในการผลิตบางข้อ ที่มีความแตกต่างจากการผลิตเสาปูนทั่วไปอีกด้วย เพื่อให้มั่นใจที่สุดว่านี่คือการผลิตสิ่งปลูกสร้าง ที่มีส่วนสำคัญกับการใช้ชีวิตของผู้คน ดังนั้นมาตรฐานสากล และการบังคับให้ได้มาตรฐานอย่างสม่ำเสมอ จึงเป็นสิ่งสำคัญตามที่ควรจะเป็นที่สุด

 

บทความที่มีเนื้อหาใกล้เคียง

การใช้งานเสาไฟฟ้า ตามขนาดหน้าตัดและความยาว

เสาไฟฟ้า มีกี่ขนาด กี่ประเภท พร้อมแนะนำสายบนเสาไฟฟ้ามีอะไรบ้าง