สัญญากู้ยืมเงิน ที่ไม่ได้กำหนดเวลาชำระคืน กรณีผู้กู้ถึงแก่ความตาย อายุความของสัญญากู้ยืมเงินหรือผู้ให้กู้จะต้องฟ้องทายาทของผู้กู้ ให้ชำระหนี้เงินกู้ภายใน 1 ปี

สัญญากู้ยืมเงิน ที่ไม่ได้กำหนดเวลาชำระคืน กรณีผู้กู้ถึงแก่ความตาย อายุความของสัญญากู้ยืมเงินหรือผู้ให้กู้จะต้องฟ้องทายาทของผู้กู้ ให้ชำระหนี้เงินกู้ภายใน 1 ปี

สัญญากู้ยืมเงิน ที่ไม่ได้กำหนดเวลาชำระคืน กรณีผู้กู้ถึงแก่ความตาย อายุความของสัญญากู้ยืมเงินหรือผู้ให้กู้จะต้องฟ้องทายาทของผู้กู้ ให้ชำระหนี้เงินกู้ภายใน 1 ปี
โดย ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์ (ทนายโทนี่)
https://www.facebook.com/profile.php?id=61570145816740
เจ้าหนี้หลายคนละเลยหรือประมาท ในเรื่องของการขาดอายุความ ความจริงการกู้ยืมเงินหรือสัญญาเงินกู้โดยทั่วไปจะมี อายุความ 10 ปี ในการฟ้องร้องเรียกเงินคืน แต่กรณีที่ลูกหนี้ตายไป เจ้าหนี้ต้องรีบฟ้องร้องกับทายาทของผู้ตายหรือทายาทลูกหนี้ ภายในกำหนดเวลา 1 ปี นับตั้งแต่เจ้าหนี้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของลูกหนี้ มิฉะนั้นถือว่าขาดอายุความ
อ้างอิง คำพิพากษาฎีกาที่8811/2556

สัญญากู้เงินระหว่างโจทก์กับ ส. ไม่ได้กำหนดเวลาชำระต้นเงินคืนไว้ โจทก์ย่อมเรียกให้จำเลยชำระหนี้ได้โดยพลันตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 วรรคหนึ่ง และถือเป็นเวลาที่ผู้ให้กู้อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ อายุความจึงเริ่มนับแต่วันถัดจากวันทำสัญญากู้เงิน และเมื่อ ส. ถึงแก่ความตายก่อนที่โจทก์ทวงถามก็ไม่อาจใช้อายุความทั่วไปตามที่โจทก์ฎีกาเพราะสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดกซึ่งยังไม่ถึงกำหนดเวลาบังคับเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตายก่อนถึงกำหนดนั้น เจ้าหนี้ก็ต้องฟ้องคดีเพื่อบังคับตามสิทธิเรียกร้องนั้น ภายในหนึ่งปีนับแต่ได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก เมื่อโจทก์เบิกความรับว่า ส. ถึงแก่ความตายในวันที่ 1 ธันวาคม 2548 และโจทก์อยู่ช่วยงานศพด้วย แสดงว่าโจทก์รู้ถึงการตายของ ส. ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2548 โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยในฐานะทายาทของ ส. ให้ชำระหนี้เงินกู้ยืมดังกล่าว เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2551 พ้นกำหนดเวลา 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการตายของ ส. ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม
หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 203 วรรคหนึ่ง
ถ้าเวลาอันจะพึงชำระหนี้นั้นมิได้กำหนดลงไว้ หรือจะอนุมานจากพฤติการณ์ทั้งปวงก็ไม่ได้ไซร้ ท่านว่าเจ้าหนี้ย่อมจะเรียกให้ชำระหนี้ได้โดยพลัน และฝ่ายลูกหนี้ก็ย่อมจะชำระหนี้ของตนได้โดยพลันดุจกัน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 วรรคสาม
ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 193/27 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ถ้าสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้อันมีต่อเจ้ามรดกมีกำหนดอายุความยาวกว่าหนึ่งปี มิให้เจ้าหนี้นั้นฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก

#image_title

จ้างทนายความ ฟ้องคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหายได้จำนวนเท่าไหร่ ? และศาลใช้หลักเกณฑ์อะไรในการพิจารณา? ความผิดฐานหมิ่นประมาท เป็นความผิดอันยอมความได้ไหม?

จ้างทนายความ ฟ้องคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหายได้จำนวนเท่าไหร่ ? และศาลใช้หลักเกณฑ์อะไรในการพิจารณา? ความผิดฐานหมิ่นประมาท เป็นความผิดอันยอมความได้ไหม?

จ้างทนายความ ฟ้องคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหายได้จำนวนเท่าไหร่ ? และศาลใช้หลักเกณฑ์อะไรในการพิจารณา?
ความผิดฐานหมิ่นประมาท เป็นความผิดอันยอมความได้ไหม?

โดย ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์(ทนายโทนี่)
https://www.facebook.com/profile.php?id=61570145816740
คำถามประเด็นที่ 1 จ้างทนายความ ฟ้องคดีหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหายได้จำนวนเท่าไหร่ ?
ตอบ หากถามผมว่าฟ้องคดีหมิ่นประมาทจะได้ค่าเสียหายจำนวนเท่าไหร่ ? ผมบอกไม่ได้ว่าผู้ฟ้องคดีหมิ่นประมาทหากว่าชนะคดีแล้วจะได้ค่าเสียหายจำนวนเท่าไร เพราะว่ามันมีหลักเกณฑ์และมีปัจจัยหลายอย่างที่ศาลจะต้องนำมาพิจารณา แต่พูดกันตามตรงนะครับ ว่าคดีหมิ่นประมาทในประเทศไทย ได้รับค่าเสียหายน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับ ประเทศสหรัฐอเมริกา ตัวอย่างเช่น
ประเทศสหรัฐอเมริกา ศาลสั่ง’ทรัมป์’จ่ายค่าเสียหายคดีหมิ่นประมาทคู่กรณีกว่า 83 ล้านดอลล์ หรือเกือบ 3,000 ล้านบาทให้กับนางอี. จีน แคร์โรลล์ ซึ่งยื่นฟ้องทรัมป์ที่ทำลายชื่อเสียงของเธอในฐานะที่เป็นนักข่าวที่น่าเชื่อถือ
สำหรับประเทศไทยของเรา หากบอกกันตรงตรง การจ่ายค่าเสียหายคดีหมิ่นประมาทให้แก่คู่กรณีจะได้ค่อนข้างน้อยส่วนใหญ่ก็แค่หลักหมื่น บางกรณีอาจจะมีบ้าง เป็นหลักแสน แต่เป็นหลักล้านจะมีน้อยมากๆฯ
ดังนั้น เราจะหวังว่าจะฟ้องคดีหมิ่นประมาทให้ได้เงินเป็นล้านเป็น 10 ล้านบาทหรือ 100 ล้านบาท มันไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ซึ่งส่วนใหญ่คดีประเภทนี้มักจะจบลงด้วยการเจรจาไกล่เกลี่ย และให้ฝ่ายที่เป็นจำเลยขอโทษและโพสต์ขอโทษตามสื่อต่างๆ แล้วก็ชดใช้เงินส่วนหนึ่ง ซึ่งคดีหมิ่นประมาทจำนวนมากไม่ได้รับค่าเสียหายเต็มตามจำนวนเงินที่ฟ้องเรียกค่าเสียหาย
เช่น ศาลตัดสินแล้ว คดีหมิ่นประมาททราย เจริญปุระ คู่กรณีต้องจ่ายค่าเสียหาย โพสต์ขอโทษอีก 200 วัน(อ้างอิง มติชนออนไลน์ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565)
คำถามประเด็นที่ 2 ศาลใช้หลักเกณฑ์อะไรในการพิจารณา?
ตอบ ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า การกำหนดค่าเสียหายในคดีหมิ่นประมาท นั้น ไม่ได้มีหลักเกณฑ์แน่นอนตายตัว ว่าจะต้องจ่ายกันเท่าไหร่ เพราะเป็นดุลยพินิจของศาล ที่จะต้องนั่งพิจารณาคดีนั้นๆ บางคดีอาจได้มากหรือได้น้อย ก็คงต้องดูพฤติการณ์ต่างๆในคดี และภาพรวม ซึ่ง หลักเกณฑ์ที่ศาลใช้ในการพิจารณามีดังต่อไปนี้
1.ข้อที่ศาลจะต้องนำเอาไปคิดและพิจารณา ข้อความหรือเนื้อหาหรือคำพูดของการหมิ่นประมาทนั้น เป็นข้อความหรือเนื้อหาหรือคำพูดในการหมิ่นประมาทนั้นมันรุนแรงหรือมันร้ายแรงหรือหนักเบามากน้อยเพียงใด หากเป็นการทำให้เขาได้รับความเสื่อมเสียชื่อเสียงอย่างร้ายแรงหรือรุนแรง อย่างนี้ ค่าเสียหายที่ได้รับก็จะสูงหรือเป็นจำนวนมาก แต่ถ้าหากว่าเป็นการหมิ่นประมาทแบบเรื่องเล็กๆน้อยๆ ไม่รุนแรงหรือร้ายแรง อันนี้ก็จะได้รับค่าเสียหาย ที่ต่ำหรือจำนวนน้อย
2.ข้อที่ศาลจะต้องนำเอาไปคิดและพิจารณา ก็คือว่ามีใครบ้าง ที่รับรู้ข้อความหรือเนื้อหาหรือคำพูด หากมีบุคคลต่างๆรับรู้เป็นจำนวนมาก เช่น การโพสต์ในช่อง YouTube มีคนดูเป็นหลักล้าน , การโพสต์ใน Facebook มีคนกดไลค์กดแชร์เป็นแสนเป็นล้าน หรือโพสต์ลงในสื่อออนไลน์อื่นๆ รวมทั้งสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ หากมีคนดูเป็นจำนวนมาก กล่าวคือมีคนรับรู้ในวงกว้าง และผู้เสียหายก็ได้รับผลกระทบในวงกว้าง อันนี้จะได้รับค่าเสียหายที่สูงหรือมากกว่า การโพสต์ใน Youtube มีคนดูแค่ 15 คน หรือโพสต์ใน Facebook มีคนกดไลค์อยู่ 1 คน หรือ มีการหมิ่นประมาทในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นกล่าวคือคนอ่านหรือดูเฉพาะในจังหวัดนั้นๆ ไม่ใช่หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ที่คนอ่านกันทั่วประเทศ แบบนี้คนรับรู้ในวงแคบและผู้เสียหายก็ได้รับผลกระทบในวงแคบ ก็จะได้รับค่าเสียหายที่ต่ำหรือน้อยลงไป
3.ข้อที่ศาลจะต้องนำเอาไปคิดและพิจารณา ก็คือเรื่องของระยะเวลาที่เกิดเหตุการณ์ของการหมิ่นประมาท รวมไปถึงจำนวนกี่ครั้งในการหมิ่นประมาท เช่น ถ้าข้อความหรือเนื้อหาหรือคำพูดในการหมิ่นประมาท เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีเขียนข้อความหรือเนื้อหาหรือคำพูด หมิ่นประมาทอยู่หลายครั้งหรือซ้ำแล้วซ้ำอีก เป็นจำนวนหลายหลายครั้ง เช่น มีการลงโพสต์ลงในกลุ่มไลน์ มีการเผยแพร่ในเว็บไซต์ มีการเผยแพร่ใน YouTube หรือสื่อออนไลน์ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง และเหตุการณ์เหล่านี้ก็เกิดขึ้นมาอย่างยาวนาน เป็นจำนวนหลายครั้งหรือเป็นจำนวนมาก มันก็เป็นส่วนหนึ่งที่ศาลจะเอามาคิดและพิจารณา คิดค่าเสียหาย ให้ได้รับค่าเสียหายที่สูงหรือมากขึ้น แต่ถ้าสมมุติโพสต์ลงใน Facebook หรือ Line หรือ Youtube เพียงแค่ 1 ครั้ง แล้วรีบลบหรืออีกวันสองวันรีบลบ ข้อความหรือเนื้อหาหรือคำพูด ออกจากระบบทันที หรือเป็นการแค่พูดหมิ่นประมาท แค่ครั้งเดียว พูดกับคนคนเดียวหรือสองคน อันนี้ค่าเสียหายที่จะได้รับมันก็จะต่ำหรือน้อยลงไป
4.ข้อที่ศาลจะต้องนำเอาไปคิดและพิจารณา ในเรื่องของการรับค่าเสียหายก็ คือฐานะทางสังคมของทั้งสองฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นโจทก์หรือจำเลย เช่นฐานะภาพทางด้านสังคม ด้านการศึกษา ของทั้งสองฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นของผู้ถูกกระทำ หากผู้ที่ถูกกระทำหรือโจทก์ เขาเป็นดารา เป็นนักการเมือง เป็นบุคคลหรือผู้มีชื่อเสียง เป็นนักร้อง กล่าวคือเป็นบุคคลที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไปอย่างกว้างขวาง แน่นอนว่าเขาก็จะได้รับความเสียในวงกว้างไปด้วย เขาก็จะได้รับค่าเสียหายที่สูงหรือจำนวนมาก แต่ถ้าโจทก์หรือผู้ถูกกระทำหรือผู้เสียหาร เป็นคนโดยทั่วไปไม่มีชื่อเสียง ไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้าง ก็จะได้รับค่าเสียหายที่ต่ำหรือน้อยกว่า อีกทั้งศาลยังพิจารณา ฐานะ อาชีพ รายได้ ของผู้กระทำกับผู้ถูกกระทำ ประกอบการพิจารณาอีกด้วย
ตัวอย่างเช่น ครูไพบูลย์ ชนะคดีหมิ่นประมาท ศาลตัดสินจำคุก นายห้างประจักษ์ชัย 4 ปี 16 เดือน ไม่รอลงอาญา จ่ายค่าเสียหาย 1 ล้านบาท ทั้งนี้ ภายหลังฟังคำพิพากษา จำเลยได้ ยื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์ขอปล่อยชั่วคราวระหว่างอุทธรณ์(อ้างอิง ข่าวออนไลน์7HD เมื่อวันที่ 23 มี.ค. 2566 ) ทั้งนี้ ครูไพบูลย์ เรียกค่าเสียหายเป็นเงิน 20 ล้านบาท แต่ศาลตัดสินสั่งจ่ายค่าเสียหายจำนวน 1 ล้านบาท
5.ข้อที่ศาลจะต้องนำเอาไปคิดและพิจารณา คือผลที่เกิดขึ้นจากการหมิ่นประมาท โดยเฉพาะ ผลกระทบกับคนที่ถูกกระทำมีมากน้อยเพียงใด เช่น การได้รับความอับอายขายหน้า ความเจ็บใจ เพราะ บางคนถูกสังคมตราหน้า บางคนถึงขั้นต้องลาออกจากงานไปเลย บางคนเสียสุขภาพจิต บางคนเป็นโรคซึมเศร้า บางคนอาจถูกดำเนินการทางวินัย บางคนถูกถูกตั้งกรรมการสอบสวน พวกนี้เป็นองค์ประกอบที่ศาลจะนำเอามาเป็นหลักเกณฑ์ในการคิดและวินิจฉัยค่าเสียหายว่าจะได้รับมากน้อยเพียงใด

6.ข้อที่ศาลจะต้องนำเอาไปคิดและพิจารณา คือการสำนึกผิดของผู้กระทำความผิด และผู้กระทำความผิดหรือจำเลยในคดีหมิ่นประมาท ได้มีการบรรเทาผลร้ายอะไรบ้างให้แก่โจทก์ เช่น สมมุติว่า นาย ก.ได้กระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต่อมา นาย ก.ได้สำนึกผิด แล้วได้ลบโพสต์ ข้อความหรือเนื้อหาหรือคำพูด ออกจากระบบ ไม่ว่าจะเป็น Youtube , Facebook , Line ฯลฯ ออกไปแล้ว อีกทั้งยังได้โพสต์ ข้อความหรือเนื้อหาหรือคำพูด ที่เป็นการขอโทษ และได้มีการพูดคุยกันทำการขอโทษกับผู้เสียหายโดยตรง มีการกราบเท้าเพื่อขอโทษ มีการเจรจาขอวางเงินเพื่อชดใช้ ค่าเสียหาย จำนวนหนึ่ง ลักษณะอย่างนี้เขาถือได้ว่า จำเลย ได้พยายามบรรเทาผลร้าย แล้วได้สำนึกผิด ในการกระทำของตนเอง ศาลก็จะพิจารณาให้ชดใช้ค่าเสียหายที่ต่ำลงหรือน้อยลง

สรุป สำหรับการฟ้องคดีหมิ่นประมาท ซึ่งมีความผิดทั้งทางอาญาและละเมิดในทางแพ่ง
ในทางอาญานั้นกฎหมายกำหนดระวางโทษจำคุกและปรับสำหรับความผิดฐานหมิ่นประมาท ส่วนในทางแพ่งนั้นการกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทนั้นถือเป็นการละเมิด มาตราที่มีความเกี่ยวข้อง คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา
๔๒๐ , มาตรา ๔๒๓ และ มาตรา ๔๔๗
คำถามประเด็นที่ 3 ความผิดฐานหมิ่นประมาท เป็นความผิดอันยอมความได้ไหม?
ตอบ คดีหมิ่นประมาทหรือความผิดฐานหมิ่นประมาท เป็นความผิดอันยอมความได้ ประมวลกฎหมายอาญา หมวด ๓
ความผิดฐานหมิ่นประมาท มาตรา ๓๓๓ บัญญัติไว้ว่า ความผิดในหมวดนี้เป็นความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายในความผิดฐานหมิ่นประมาทตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย

สำหรับข้อควรระวัง หากไม่แน่ใจ ก็ไม่ควรรีบร้อนไปแจ้งความ ควรปรึกษาทนายความหรือบุคคลที่มีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายหมิ่นประมาทก่อนแจ้งความ เพราะหากแจ้งความไปแล้ว อาจโดนฟ้องกลับได้ โดยจำเลยสามารถฟ้องกลับได้ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 172 การให้ข้อมูลอันเป็นเท็จ

#image_title

เมื่อเจอคนที่ใช่ คุณจะรู้สึกถึงความสบายใจในบางครั้งคนที่ใช่ ไม่ใช่เป็นคนที่สมบูรณ์แบบ แต่ เป็นคนที่ทำให้เรามีความสุขจริงๆเวลาที่อยู่ใกล้ และรักเราในแบบที่เราเป็น ไม่ใช่รักเราในแบบที่เขาอยากจะให้เราเป็นแต่ในบางครั้งชีวิตของคนเราก็ไม่สามารถควบคุมได้เพราะ “ ในบางครั้งคนที่ใช่ก็มาในช่วงเวลาที่ไม่ใช่ และบางครั้งคนที่ไม่ใช่ก็เข้ามาในช่วงเวลาที่ใช่ ”โดย…สุทธิชัย ปัญญโรจน์(อาจารย์โทนี่)www.drsuthichai.com

เมื่อเจอคนที่ใช่ คุณจะรู้สึกถึงความสบายใจในบางครั้งคนที่ใช่ ไม่ใช่เป็นคนที่สมบูรณ์แบบ แต่ เป็นคนที่ทำให้เรามีความสุขจริงๆเวลาที่อยู่ใกล้ และรักเราในแบบที่เราเป็น ไม่ใช่รักเราในแบบที่เขาอยากจะให้เราเป็นแต่ในบางครั้งชีวิตของคนเราก็ไม่สามารถควบคุมได้เพราะ “ ในบางครั้งคนที่ใช่ก็มาในช่วงเวลาที่ไม่ใช่ และบางครั้งคนที่ไม่ใช่ก็เข้ามาในช่วงเวลาที่ใช่ ”โดย…สุทธิชัย ปัญญโรจน์(อาจารย์โทนี่)www.drsuthichai.com

เมื่อเจอคนที่ใช่ คุณจะรู้สึกถึงความสบายใจ
ในบางครั้งคนที่ใช่ ไม่ใช่เป็นคนที่สมบูรณ์แบบ แต่ เป็นคนที่ทำให้เรามีความสุขจริงๆเวลาที่อยู่ใกล้ และรักเราในแบบที่เราเป็น ไม่ใช่รักเราในแบบที่เขาอยากจะให้เราเป็น
แต่ในบางครั้งชีวิตของคนเราก็ไม่สามารถควบคุมได้เพราะ
“ ในบางครั้งคนที่ใช่ก็มาในช่วงเวลาที่ไม่ใช่ และบางครั้งคนที่ไม่ใช่ก็เข้ามาในช่วงเวลาที่ใช่ ”
โดย…สุทธิชัย ปัญญโรจน์(อาจารย์โทนี่)
www.drsuthichai.com

#image_title

กรดไกลโคลิกสกัดจากผลไม้และอ้อย

กรดไกลโคลิกสกัดจากผลไม้และอ้อย

ประโยชน์ของกรดไกลโคลิก

ผลัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว
กรดไกลโคลิกช่วยในการผลัดเซลล์ผิวชั้นนอกที่เสื่อมสภาพและตายแล้วให้หลุดออกไป ช่วยให้ผิวดูสดใสขึ้น มีชีวิตชีวา และมีความกระจ่างใสมากขึ้น

ลดเลือนจุดด่างดำและฝ้า
การใช้กรดไกลโคลิกเป็นประจำสามารถช่วยลดเลือนจุดด่างดำ ฝ้า กระ และรอยสิว ทำให้สีผิวดูสม่ำเสมอขึ้น

กระชับรูขุมขน
กรดไกลโคลิกช่วยในการลดการสะสมของเซลล์ผิวที่ตายแล้วภายในรูขุมขน ซึ่งจะทำให้รูขุมขนดูเล็กลง และผิวหน้าเรียบเนียนขึ้น

ลดริ้วรอยและเส้นบางๆ
การใช้กรดไกลโคลิกสามารถช่วยกระตุ้นการผลิตคอลลาเจนในชั้นผิว ทำให้ริ้วรอยและเส้นบางๆ บนใบหน้าดูลดลง ผิวดูเต่งตึงและอ่อนเยาว์ขึ้น

ปรับสภาพผิวให้เรียบเนียน
กรดไกลโคลิกมีคุณสมบัติช่วยปรับสภาพผิวให้เรียบเนียน ลดความหยาบกร้านของผิว ช่วยให้ผิวดูเรียบลื่นและสัมผัสที่นุ่มนวลมากขึ้น

ลดความมันส่วนเกิน
กรดไกลโคลิกช่วยลดการผลิตน้ำมันส่วนเกินบนผิวหน้า ซึ่งช่วยลดปัญหาผิวมันและการเกิดสิว ทำให้ผิวดูสมดุลและไม่มันเยิ้ม

ปรับสมดุลสีผิว
ช่วยปรับสมดุลสีผิว ลดความหมองคล้ำ ทำให้ผิวดูสดใสขึ้น และลดปัญหาสีผิวไม่สม่ำเสมอ

เพิ่มการดูดซึมของผลิตภัณฑ์บำรุงผิว
การใช้กรดไกลโคลิกช่วยผลัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วออก ทำให้ผิวพร้อมรับสารบำรุงจากผลิตภัณฑ์อื่นๆ ได้ดียิ่งขึ้น เช่น เซรั่มและครีมบำรุงต่างๆ

วิธีการใช้กรดไกลโคลิกอย่างปลอดภัย
เริ่มจากความเข้มข้นต่ำ หากเพิ่งเริ่มใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีกรดไกลโคลิก ควรเริ่มจากผลิตภัณฑ์ที่มีความเข้มข้นต่ำ (ประมาณ 5-10%) และใช้ในปริมาณเล็กน้อย
ใช้ในตอนกลางคืน ควรใช้กรดไกลโคลิกในตอนกลางคืนเพื่อหลีกเลี่ยงแสงแดด ซึ่งอาจทำให้ผิวไวต่อแสงและเกิดการระคายเคือง
ทาครีมกันแดด เนื่องจากกรดไกลโคลิกทำให้ผิวไวต่อแสงแดดมากขึ้น ควรทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF สูงในตอนเช้าหลังการใช้กรดไกลโคลิก
ไม่ใช้กับผิวที่ระคายเคือง หากผิวของคุณมีอาการระคายเคือง แดง หรือเป็นสิวอักเสบ ควรหลีกเลี่ยงการใช้กรดไกลโคลิกจนกว่าผิวจะกลับมาปกติ

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
การระคายเคือง การใช้กรดไกลโคลิกในปริมาณสูงหรือใช้บ่อยเกินไปอาจทำให้ผิวระคายเคือง แสบ แดง หรือแห้ง
ผิวไวต่อแสง การใช้กรดไกลโคลิกทำให้ผิวไวต่อแสงมากขึ้น จึงควรปกป้องผิวจากแสงแดดด้วยการทาครีมกันแดด

สรุป
กรดไกลโคลิกเป็นส่วนผสมที่มีประสิทธิภาพสูงในการดูแลผิว โดยเฉพาะการผลัดเซลล์ผิวและลดเลือนจุดด่างดำ อย่างไรก็ตาม ควรใช้อย่างระมัดระวังและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหากคุณมีผิวแพ้ง่ายหรือมีปัญหาผิวอื่นๆ เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ควรจะซื้อสินค้าจากโรงงานรับผลิตเครื่องสำอาง

 

รับผลิตเครื่องสำอาง โรงงานผลิตเครื่องสำอาง

Cn corporation Co.,LTD. รับผลิตเครื่องสำอาง โดย โรงงานผลิตเครื่องสำอาง ที่ทันสมัย ผลิตตามมาตรฐาน ของกระทรวงสาธารณสุข มีสูตรมาตรฐานให้เลือกหลากหลายสูตร
อาทิ ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้ากระจ่างใส ลดเลือนฝ้ากระ, ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิว, ผลิตภัณฑ์ลดเลือนริ้วรอย, ผลิตภัณฑ์ลดการแพ้ และการเกิดสิว, ผลิตภัณฑ์กันแดด, ผลิตภัณฑ์สบู่สมุนไพร, ผลิตภัณฑ์สปาแคร์,
ผลิตภัณฑ์ตกแต่งริมฝีปาก ลิปแมท ลิปมัน ลิปกรอส ลิปบาล์ม นอกจากนั้นเรายังมีบริการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์

Facebookpage : Cn corporation Lab รับผลิตเครื่องสำอาง ครบวงจร
อีเมล : info@cncorporation.co.th
เบอร์โทรศัพท์ : 062-949-8888

การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามกฎหมายมีอะไรบ้าง

การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามกฎหมายมีอะไรบ้าง

การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามกฎหมายมีอะไรบ้าง
โดย ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์(ทนายโทนี่)
https://www.facebook.com/profile.php?id=61570145816740

การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามกฎหมาย มีด้วยกันทั้งสิ้นหลายรูปแบบเช่น

ข้อที่ 1 การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน กล่าวคือการได้มาโดยการขอออกโฉนดที่ดินทั้งตําบล และได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยขอออกโฉนดที่ดินเฉพาะราย
อ้างอิง พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 58 และ มาตรา 59
ข้อที่ 2 การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยนิติกรรม เช่น โดยการทำนิติกรรม ซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน ,จำนอง, ขายฝาก และต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นเป็นโมฆะ

ข้อที่ 3 การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยผลของกฎหมาย เป็นที่ดินที่ไม่ได้ไปแย่งใครมา แต่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น ที่ดินงอกริมตลิ่ง ซึ่งอาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เพราะน้ำในแม่น้ำได้พัดพาเอากรวดหินดินทรายมาถมแล้วก็เกิดการพอกพูนขึ้นทุกวันจนกลายเป็นที่ดินขึ้นมา ซึ่งตามหลักกฎหมายได้กําหนดให้ที่ดินงอกริมตลิ่งพวกนี้ ซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินผืนเดิมที่เกิดที่ดินงอกริมตลิ่ง พวกนี้สามารถนําไปขอออกโฉนดได้ แต่ต้องไม่ใช่ที่ดินซึ่งเกิดจากการถมที่ดินเพิ่มเติม

ข้อที่ 4 การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ตามหลักกฎหมายโดยการครอบครองปรปักษ์
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1382 บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 5 ปีไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์ ในทางปฏิบัติ แม้จะเข้าองค์ประกอบตามมาตรา 1382 กำหนดแล้ว ก็ไม่ใช่จะได้มาได้โดยง่ายเพราะบุคคลที่อ้างการครอบครองปรปักษ์ที่ดินนั้น จะต้องดำเนินการ จ้างทนายความ พร้อมแสดงหลักฐาน ”ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์”
ก่อนศาลจะพิจารณาหรือมีคำสั่ง จะต้องกระบวนการต่างๆ โดยศาลจะมีหมายส่งไปยังเจ้าของที่ดิน ที่มีชื่อในกรรมสิทธิ์(โฉนด)ดังกล่าว เพื่อให้มาแสดงตนในการ “คัดค้าน”และศาลจะมีคำสั่งให้ผู้ที่ครองครองกล่าวอ้างการครอบครองปรปักษ์ดำเนินการเกี่ยวกับการรังวัดที่ดินพิพาท และนำหลักฐานอื่นๆมาแสดงเช่น พยานบุคคล,ภาพถ่ายที่ดินที่ได้ครอบครอง,แผนที่ที่ดิน ฯลฯ เพื่อประกอบการพิจารณาในศาลด้วย
ในกรณีไม่มีผู้คัดค้านหรือเจ้าของที่ดินมาแสดงตน ศาลอาจจะมีคำสั่งให้บุคคลผู้ครอบครองที่ดินนั้นได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ และผู้ครอบครองนั้นจะต้องนำคำสั่งศาลไปติดต่อกรมที่ดินหรือสำนักงานที่ดินจังหวัด เพื่อขอเปลี่ยนแปลงชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงดังกล่าวได้
ข้อที่ 5 การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ตามหลักกฎหมายโดยทางมรดก
ที่ดินมรดกนั้นจะต้องเป็นที่ดินมีเอกสารสิทธิ์หรือมีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ ตัวอย่างเช่น โฉนดที่ดินและถ้าเป็นที่มรดก เช่น นส.3 , สค.1 ก็ถือว่าเป็นที่ดินมือเปล่าหรือมีเพียงสิทธิครอบครอง การได้ที่ดินโดยมรดกนี้จะต้องมีการจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินก่อนจึงจะมีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนได้

#image_title