by drsuthichai | Jan 4, 2025 | การศึกษา, ทั่วไป อื่นๆ
สัญญาเงินกู้ ที่ผู้ให้กู้มากรอกข้อความตัวเลข ไม่ถูกต้องภายหลัง ถือเป็นการปลอมเอกสาร จะฟ้องร้องคดีให้รับผิดชำระหนี้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2518/2547
จำเลยได้กู้เงินไปเพียง 30,000 บาท แต่โจทก์กลับไปกรอกข้อความในสัญญาเงินกู้เป็นเงินถึง 109,000 บาท โดยจำเลยไม่ได้ยินยอม สัญญากู้จึงเป็นเอกสารปลอม โจทก์ไม่อาจนำมาใช้เป็นพยานหลักฐานในการฟ้องคดีได้ เมื่อเงินกู้จำนวนดังกล่าวไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยซึ่งเป็นผู้กู้มาแสดง โจทก์จึงไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีให้จำเลยรับผิดชำระหนี้เงินกู้แก่โจทก์ได้

#image_title
by drsuthichai | Jan 3, 2025 | การศึกษา, ทั่วไป อื่นๆ
การขอทางจำเป็น ขนาดของทาง ต้องคำนึงถึงความเหมาะสม ไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงประกาศคณะปฏิวัติ ศาลให้ 5 เมตรคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1370/2520โดย ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์ (ทนายโทนี่)ทางจำเป็นต้องเลือกทำพอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่านโดยให้เสียหายแก่ที่ดินที่ล้อมอยู่น้อยที่สุด เปิดทางกว้าง 5 เมตร เหมาะสมแล้ว จะนำประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ให้เปิดทางกว้าง 8 เมตร มาอ้างไม่ได้

#image_title
by drsuthichai | Dec 31, 2024 | การศึกษา, ทั่วไป อื่นๆ
สู้คดีด้วยอายุความ อายุความฟ้องคดีกู้ยืมเงิน
โดย…ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์ (ทนายโทนี่)
5 ปี บัตรสินเชื่อหรือสัญญาเงินกู้ ที่ มีกำหนดชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยเป็นงวดๆ(ผ่อนเป็นงวดๆ) มีอายุความ 5 ปี
10 ปีการฟ้องร้องเรียกเงินคืน ตามสัญญากู้ยืมเงินหรือสินเชื่อเงินกู้ ต้องฟ้องภายใน 10 ปี นับตั้งแต่วันถึงกำหนดชำระเงินกู้ยืมคืน

#image_title
by drsuthichai | Dec 29, 2024 | การศึกษา, ทั่วไป อื่นๆ
สัญญากู้ยืมเงิน ที่มีหลักฐานใน facebook หรือ line หรือ สื่อออนไลน์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6757/2560
จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์ 595,500 บาท ตกลงชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือน จำเลยได้รับเงินที่กู้ยืมครบถ้วนแล้ว หลังจากทำสัญญาจำเลยไม่ชำระต้นเงิน คงชำระดอกเบี้ย 4 ครั้ง รวมเป็นเงิน 6,550 บาท การที่โจทก์ส่งข้อความทางเฟสบุ๊คถึงจำเลยมีใจความว่า เงินทั้งหมด 670,000 บาท ไม่ต้องส่งคืน ยกให้หมด ไม่ต้องส่งดอกอะไรมาให้ จะได้ไม่ต้องมีภาระหนี้สินติดตัว การส่งข้อมูลดังกล่าวเป็นการสนทนาผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ถือว่าเป็นการส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ จึงต้องนำ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 มาตรา 7 ถึง มาตรา 9 มาใช้บังคับด้วย แม้ข้อความนี้จะไม่มีการลงลายมือชื่อโจทก์ก็ตาม แต่การส่งข้อความทางเฟสบุ๊คจะปรากฏชื่อผู้ส่งด้วยและโจทก์ก็ยอมรับว่าได้ส่งข้อความถึงจำเลยจริง ข้อความการสนทนาดังกล่าวจึงรับฟังได้ว่า เป็นการแสดงเจตนาปลดหนี้ให้แก่จำเลยโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ. มาตรา 340 แล้ว หนี้ตามสัญญากู้ยืมย่อมระงับ จำเลยไม่ต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

#image_title
by drsuthichai | Dec 27, 2024 | การศึกษา, ทั่วไป อื่นๆ
ทำไมไม่กำหนดเป้าหมายในชีวิต
โดย…สุทธิชัย ปัญญโรจน์
www.drsuthichai.com
หลายๆคน ได้อ่านหนังสือเกี่ยวกับความสำเร็จหรือได้ยินได้ฟังจากบรรดาผู้ประสบความ สำเร็จว่า การสร้างเป้าหมายในชีวิตเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ คนที่ประสบความสำเร็จทุกๆคนล้วนแล้วแต่เป็นคนที่มีเป้าหมายในชีวิต ถามว่าเมื่อรู้แล้วว่าการกำหนดเป้าหมายในชีวิตเป็นสิ่งที่สำคัญแต่ทำไมคน ส่วนใหญ่ถึงไม่ยอมที่จะกำหนดเป้าหมายในชีวิต อาจเป็นเพราะเหตุผลดังนี้
1.ไม่ได้เล็งเห็นความสำคัญของการกำหนดเป้าหมายอย่างแท้จริง หลายๆคนคงได้เคยเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องของการวางเป้าหมายจากการอบรม การสัมมนา การอ่านหนังสือต่างๆ ฯลฯ แต่เมื่อเรียนรู้แล้วไม่ยอมลงมือทำ นี่คือจุดอ่อนของคนส่วนใหญ่ กล่าวคือเข้ารับการอบรมในหลักสูตรต่างๆ แต่ไม่ยอมนำเอาความรู้ที่ได้รับการอบรมไปใช้ไปปฏิบัติอย่างจริงจัง การเรียนรู้เรื่องการวางเป้าหมายก็เช่นกัน
2.มีความกลัวว่าเมื่อวางเป้าหมายไปแล้วจะทำไม่ได้ ความกลัวมักจะทำให้คนๆนั้นไม่กล้า เช่น กลัวจีบสาวไม่ติดก็ไม่กล้าที่จะไปจีบสาว , กลัวการพูดต่อหน้าที่ชุมชนเลยไม่กล้าที่จะพูดต่อหน้าที่ชุมชน , กลัวตกม้าเลยไม่กล้าขึ้นไปขี่ม้า ฯลฯ ฉะนั้น หลักในการวางเป้าหมายที่ดี เราไม่ควรวางเป้าหมายให้สูงเกินความเป็นจริงหรือเกินความสามารถของตนเอง และการวางเป้าหมายที่ดี ไม่ควรวางเป้าหมายให้ต่ำกว่าความเป็นจริง ควรวางเป้าหมายสูงกว่าความเป็นจริงสักเล็กน้อย
3.ไม่อยากเสียเวลาและเสียแรงในการวางเป้าหมาย หลายๆคนเมื่อวางเป้าหมายไปแล้วทำครึ่งๆกลางๆ ไม่มีความต่อเนื่อง จึงทำให้มีความรู้สึกว่าไม่อยากเสียเวลาและเสียแรงในการวางเป้าหมาย เช่น บางคนมีเป้าหมายว่าจะลุกขึ้นอ่านหนังสือทุกๆวัน ตั้งแต่เวลาตี 5 แต่พอทำไปได้ 3 วัน ก็เลิกทำ หรือ บางคนมีเป้าหมายว่าจะออกกำลังกายทุกๆตอนเย็นแต่ทำได้เพียงแค่ 7 วัน ก็เลิก สุดท้ายก็ไม่อยากกำหนดเป้าหมายในชีวิต
นี่คือสาเหตุบางประการที่ทำให้คนเราไม่ยอมที่จะกำหนดเป้าหมายในชีวิต ถามว่าทำไมจึงต้องกำหนดเป้าหมาย การกำหนดเป้าหมายมีประโยชน์หลายประการ เช่น
1.การมีเป้าหมายช่วยให้เรารู้ทิศทางในการก้าวไปข้างหน้า ทำให้ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย ไม่ทำให้เราเกิดความสับสนในชีวิตจนไม่รู้ว่าจะเดินไปในทิศทางไหนดี การรู้ทิศทางเดินของตนเองทำให้เราเกิดความตั้งใจ เกิดความมุ่งมั่น เกิดการพัฒนาตนเองเพื่อไปสู่เป้าหมาย
2.การกำหนดเป้าหมายจะทำให้เราพบวิธีการในการไปสู่เป้าหมาย ตัวอย่าง หากเราอยู่ต่างจังหวัด เรามีเป้าหมายว่าต้องการเดินทางไปกรุงเทพฯ เราสามารถมีวิธีการในการไปสู่เป้าหมายหลายวิธี เช่น นั่งรถโดยสารประจำทาง นั่งรถยนต์ส่วนตัว นั่งเครื่องบิน ปั่นจักรยาน ฯลฯ ทั้งนี้ เราสามารถรู้วิธีการในการไปสู่เป้าหมายว่ามีวิธีการใดที่มีความเหมาะสมกับ เรามากที่สุด
3.การกำหนดเป้าหมายจะทำให้มีความขยัน อดทนและความเพียรพยายาม คนที่มีเป้าหมายจะมีความขยัน อดทนและเพียรพยายามเพื่อนำพาตัวเองไปสู่จุดหมายปลายทาง แต่คนไม่มีเป้าหมาย ถึงแม้จะมีขยัน มีอดทนและมีเพียรพยายามอย่างไรก็ตามสุดท้ายก็ไปไม่ถึงไหน เพราะเนื่องจากไม่รู้ว่าจุดหมายปลายทางอยู่ตรงไหน เหมือนขยันพายเรือกลางทะเล ไม่รู้ว่าฝั่งอยู่ตรงไหน
จากข้อความข้างต้นจะทำให้เราทราบว่า ทำไมคนเราถึงไม่ยอมกำหนดเป้าหมายและทำให้ทราบเรื่องประโยชน์ของการกำหนดเป้า หมาย ดังนั้นหากท่านเป็นคนหนึ่งที่ต้องการประสบความสำเร็จในชีวิต ขอให้ท่านได้กำหนดเป้าหมายในชีวิตตั้งแต่วินาทีนี้เป็นต้นไป แล้วเริ่มเดินทางไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ ท่านก็จะเป็นอีกคนหนึ่งที่ประสบความสำเร็จในชีวิตอย่างแน่นอน

#image_title
by drsuthichai | Dec 25, 2024 | การศึกษา, ทั่วไป อื่นๆ
คำพิพากษาฎีกา 700 / 2517 จำเลยเป็นภรรยาของผู้ตาย โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส จำเลยจึงไม่ใช่ภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมาย อันจะถือว่าเป็นทายาทโดยธรรมที่จะมีสิทธิรับมรดกของผู้ตายได้ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของผู้ตายจึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1737ทนายสุทธิชัย ปัญญโรจน์ ทนายโทนี่https://www.facebook.com/profile.php?id=61570145816740

#image_title