เสาไฟฟ้ากับวัสดุที่ใช้ในการผลิตตามขั้นตอนมาตรฐาน

เสาไฟฟ้ากับวัสดุที่ใช้ในการผลิตตามขั้นตอนมาตรฐาน

สำหรับขั้นตอนการผลิตเสาไฟฟ้า ที่ใครหลายคนกำลังอยากจะไขข้อสงสัยกันว่า ทำไมเสาคอนกรีตที่อยู่ในทุกที่แทบจะทั่วไปประเทศ จึงมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกันเหลือเกิน บางต้นนั้นสามารถนับอายุการใช้งานที่เกินกว่าสิบปีได้เลยสบายๆ โดยเฉพาะเสาสูงที่ทำหน้าที่รับสายไฟฟ้าแรงสูง ดูเหมือนว่าจะเป็นเสาคอนกรีตขนาดตามมาตรฐาน ที่สามารถทำให้เกิดความมั่นคง และส่งกระแสไฟฟ้า ที่มีการพาดผ่านสายไฟอย่างต่อเนื่อง ถือว่าเป็นไปได้น้อยมาก กับการประสบปัญหาเสาไฟฟ้าหักโค่น ซึ่งปัจจุบันอาจจะเป็นสิ่งปลูกสร้างเพียงไม่กี่อย่าง หากไม่นับรวมในส่วนของโครงสร้างอาคารต่างๆ ที่มีอายุการใช้งานที่ยาวนานเทียบเท่ากันเลยทีเดียว แต่แน่นอนว่าจากคุณสมบัติ หรือข้อดีเกี่ยวข้องกับประโยชน์ของเสาไฟฟ้าที่เราได้เห็นผ่านตากันมามากมายนั้น ที่สำคัญที่สุดคือขั้นตอนของการผลิต ที่วันนี้เราจะนำข้อมูลบางส่วนมาฝากทุกท่านดังต่อไปนี้

 

ควบคุมการผลิตโดยการไฟฟ้าและวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ

แน่นอนว่าภายใต้ความทนทานแข็งแรง ที่เราได้ทราบกันดี จากอายุการใช้งานของเสาไฟฟ้า ที่มีความยาวนานมากกว่าวัสดุ หรือสิ่งปลูกสร้างหลากหลายรูปแบบ ซึ่งการที่มีความทนทานแข็งแรงดังกล่าวนั้น แน่นอนว่ามาจากการผลิตที่อยู่ในขั้นตอนการควบคุม ที่มีความรัดกุม และดูแลในเรื่องวัตดุดิบที่จะใช้หล่อเสาไฟฟ้าขึ้นมาอย่างพิถีพิถัน และจะต้องผ่านขั้นตอนของการทดสอบ ที่ถือว่าเป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งที่มาตรฐานทุกโรงงานที่ผลิตนั้นจะต้องมีไว้ด้วยเช่นกัน ซึ่งเป็นที่น่าสนใจในประเด็นนี้พอสมควร หากการผลิตชิ้นส่วนต่างๆ ที่ใช้กับการก่อสร้างนั้น หากไม่มีการทดสอบในด้านความแข็งแรงอย่างสม่ำเสมอ อาจจะเป็นอีกสาเหตุที่แตกต่างกัน ระหว่างวัสดุก่อสร้างที่ผลิตในมาตรฐาน มอก. กับวัสดุที่ไม่ได้อยู่ในขั้นตอนของการผลิตแบบ มอก. อาจจะมีอายุการใช้งานที่แตกต่างกัน ซึ่งแน่นอนว่าคงจะเป็นไปได้สูงที่เสาไฟฟ้าคอนกรีตที่ใช้งานทั่วไปในตอนนี้ อาจจะมีการชำรุด หักโค่นเสียหายบ่อยครั้งก็เป็นได้

 

ลวดเหล็กกล้าที่ใช้ผลิตเสาไฟฟ้าคอนกรีต

ปัจจัยของอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า หรืออาจจะเป็นคุณสมบัติส่วนใหญ่ที่พบเห็นกับการใช้ ในขั้นตอนของการทำวัสดุก่อสร้าง ที่อยู่ในหมวดหมู่ประเภทของคอนกรีตอัดแรงนั้น ถือว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญอย่างมาก สำหรับการที่จะต้องมีเหล็กเสริม ที่ต้องคัดเลือกคุณสมบัติของเหล็กกล้า หรือเป็นลวดที่ถูกผลิตขึ้นมาสำหรับการรองรับการผลิตวัสดุคอนกรีตอัดแรงโดยเฉพาะ ซึ่งเสาไฟฟ้าคอนกรีตนั้นคือส่วนหนึ่งในขั้นตอนนี้อยู๋แล้ว และใช้วิธีการผลิตที่เหมือนกันทั้งหมด ดังนั้นลวดเหล็กกล้าจึงถือว่า เป็นส่วนประกอบที่สำคัญมากๆ สำหรับการผลิตเสาไฟฟ้า และหน้าที่ของลวดเหล็กกล้า ที่นำมาใช้กับการผลิตเสาไฟฟ้านั้น ก็คือความสามารถของการทนแรงดึง ที่มีค่าเป็นหน่วยนิวตันต่อตารางเมตร โดยตัวเลขที่ทำได้จากลวดเหล็กกล้าที่ใช้ในเสาไฟฟ้าคอนกรีตนั้น จะอยู่ระหว่าง 1,7xx นิวตันต่อตารางเมตร มีบวกลบไม่มาก ในระดับเศษที่ 0.01 เป็นต้นไปเลยนั่นเอง และที่สำคัญคือลวดชนิดนี้ จะอยู่ในมาตรฐานอุตสาหกรรม ในหมวดหมู่ที่ 95 หรือ มอก. 95 นั่นเอง

 

บทสรุปตอนท้าย

ตั้งแต่ความยาวที่ 6 เมตร ไปจนถึงความยาว 22 เมตร สำหรับเสาไฟฟ้าคอนกรีต ที่มีการใช้งานตามความเหมาะสม ที่วิศวกร หรือผู้ออกแบบงานติดตั้ง จะต้องเลือกตามน้ำหนักที่รับได้ และสภาพภูมิประเทศที่จะใช้งาน และที่สำคัญของแรงดันไฟฟ้า ที่จะแปรผันกับน้ำหนักของสายไฟฟ้าที่ใช้พาดผ่านเสาไฟฟ้าคอนกรีตเหล่านี้ แต่แน่นอนว่าทั้งหมดจะถือว่าเป็นขั้นตอนของการผลิตที่ไว้วางใจได้ ปลอดภัย และมีความทนทานสูงมาก

 

บทความที่มีเนื้อหาใกล้เคียงหรือเกี่ยวข้อง

รูปแบบหม้อแปลงบนเสาไฟฟ้าที่พบเห็นบ่อย

รูปแบบหม้อแปลงบนเสาไฟฟ้าที่พบเห็นบ่อย

รูปแบบหม้อแปลงบนเสาไฟฟ้าที่พบเห็นบ่อย

บางท่านอาจจะยังมีข้อสงสัย หรือยังไม่มีโอกาสได้ทำความเข้าใจ กับการใช้งานเสาไฟฟ้าคอนกรีต ที่กระจายตามส่วนต่างๆ ในเขตพื้นที่ชุมชน ตามสองข้างทาง หรือใกล้เคียงกับถนนใหญ่แถวบ้านของทุกท่าน ด้วยนอกเหนือจากความหลากหลายของขนาดเสาไฟฟ้าที่ใช้กันโดยทั่วไปตามที่เราได้พบเห็นกัน แต่แน่นอนว่าในความหลากหลายนั้น ในอุปกรณ์ติดพ่วงมากับเสาไฟฟ้าบางประเภท หรือในบางขนาดความสูง จะมีจุดเสริมที่ติดตั้งเพิ่มเติมให้เห็นถึงความแตกต่างจากเสาไฟฟ้าทั่วไปด้วยเช่นกัน

โดยเฉพาะในส่วนของเสาไฟฟ้าในขนาดความสูงตั้งแต่ 12 เมตรเป็นต้นไป การติดพ่วงหม้อแปลงมาด้วยนั้น จะเป็นเรื่องปกติที่เห็นกันจนชินตาอย่างแน่นอน เพราะด้วยคุณสมบัติที่ผลิตเสาไฟฟ้าคอนกรีตขนาดนี้ขึ้นมา เพื่อการใช้งานกับการช่วยเพิ่มศักยภาพให้กับการจ่ายไฟให้กับผู้คนได้ใช้งานกันนั่นเอง และวันนี้เราจะมาขยายความกับเรื่องของหม้อแปลง ที่ติดตั้งตามเสาไฟฟ้าในขนาดความสูงดังที่กล่าวมาดังต่อไปนี้

รูปแบบหม้อแปลงบนเสาไฟฟ้าที่พบเห็นแพร่หลายที่สุด

เดิมทีหน้าที่ของการทำงานร่วมกัน ระหว่างเสาไฟฟ้ากับหม้อแปลงนั้น จะเป็นการย่อขนาดจากรูปแบบการทำงานของโรงไฟฟ้า โดยจะมีการปรับเปลี่ยนจำนวนของแรงดันหรือกระแสไฟฟ้า ให้อยู่ในปริมาณที่พอใช้กันตามความจำเป็นนั่นเอง ซึ่งทางเราจะพยายามให้ทุกท่านได้ทำความเข้าใจได้ง่ายที่สุด โดยเบื้องต้น หม้อแปลงไฟฟ้านั้น จะรูปแบบที่ใช้ติดตั้งเพิ่มเติมบนเสาไฟฟ้าตามความสูงที่ 12 เมตร และที่สำคัญเลยก็คือ จะมีการแบ่งแยกประเภททั้งหมด 2 แบบ ได้แก่ แบบแขวน และแบบนั่งร้าน

โดยในแบบแขวนนั้น อาจจะเป็นรูปแบบของหม้อแปลงที่ติดตั้งบนเสาไฟฟ้าที่พบเห็นแพร่หลายพอสมควร โดยถ้าหากเป็นเสาสูงเกินหรือเท่ากับ 12 เมตร และพบเห็นการติดพ่วงแบบข้างเดียว ในฝั่งใดฝั่งหนึ่งของเสาไฟนั้น นั่นคือลักษณะของหม้อแปลงแบบแขวน ซึ่งจะใช้กับลักษณะของเสาไฟฟ้าแบบเสาเดี่ยว น้ำหนักส่วนใหญ่จะอยู่ที่ประมาณ 1000 กิโลกรัม และ 1200 กิโลกรัม ไม่เกินนี้

 

การติตดั้งหม้อแปลงแบบนั่งร้านบนเสาไฟฟ้า

แน่นอนว่าในการที่ต้องใช้รูปแบบการค้ำยัน หรือการติดตั้งหม้อแปลงในรูปแบบนั่งร้าน ที่มองผิวเผินจะมีลักษณะคล้าย กับการขึ้นส่วนประกอบของนั่งร้าน เพื่อการทำงานในการก่อสร้างงานโครงสร้างต่างๆ ซึ่งแน่นอนว่าเป็นลักษณะการถอดแบบมาในแบบเดียวกัน เพื่อให้เสาไฟฟ้านั้นสามารถรับน้ำหนักบรรทุกที่เกิดขึ้นจากหม้อแปลงได้ ด้วยขนาดของหม้อแปลงที่มีขนาดใหญ่ รับหน้าที่ในการแปลงกระแสไฟฟ้าที่มากกว่าแบบแขวน ด้วยน้ำหนักต่อชิ้นที่มากกว่า 300 กิโลกรัม การที่ต้องใช้ขั้นตอนการติดตั้ง ที่ต้องมีส่วนช่วยเหลือในการรับน้ำหนัก จึงจำเป็นกับการติดตั้งหม้อแปลงชนิดนี้ และที่สัญน้ำหนักสูงสุดของหม้อแปลงแบบนั่งร้านนี้ มีสูงสุดถึง 4500 กิโลกรัมเลยทีเดียว โดยจะรับหน้าที่ในการรองรับน้ำหนักของหม้อแปลง ที่รับกระแสไฟตั้งแต่ 50 kVA ไปจนถึงส่วนหม้อแปลงที่รับกระแสไฟในจำนวน 200 kVA ซึ่งจะมีน้ำหนักที่แปรผันตามสัดส่วนของขนาดของหม้อแปลงนั่นเอง

 

บทสรุปตอนท้าย

ถือว่าน่าจะทำให้หลายท่า น่าจะพอทำความเข้าใจกับเสาไฟฟ้าคอนกรีตขนาด 12 เมตรขึ้นไป และได้เห็นลักษณะของหม้อแปลง ที่มีลักษณะเป็นตู้สี่เหลี่ยม มองอีกแบบก็คล้ายกับลักษณะของรังผึ้ง ซึ่งถือว่าเป็นส่วนประกอบอย่างนึง ที่ทำให้พวกเรานั้นมีกระแสไฟฟ้าใช้งานกันอย่างที่เห็นในปัจจุบันนี้นั่นเอง